Loading...
ศูนย์ข้อมูลการส่งเสริมคุณธรรม
หลักสูตรอบรมเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมของหน่วยงานต่างๆ
แสดง 1 ถึง 20 จาก 96 ผลลัพธ์
# | หลักสูตร | กระบวนการและแก่นเนื้อหาหลักสูตร | กลุ่มเป้าหมาย | หน่วยงานดำเนินการ |
---|---|---|---|---|
1 | คุณธรรมจริยธรรมสื่อมวลชน | มุ่งหวังให้เป็นหลักสูตรกลางสำหรับผู้ปฏิบัติงานในวิชาชีพสื่อมวลชน ทำให้สื่อได้ตระหนักถึงการขัดเกลาทางคุณธรรมจริยธรรม การปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพสื่อ และความรู้ความเข้าใจในกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ด้วยการเรียนรู้จากสังคม เพื่อนร่วมวิชาชีพ คนต้นแบบ สื่อสร้างสรรค์ต่าง ๆ ด้วยจิตที่ตื่นรู้และใคร่ครวญ อันจะเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองที่สามารถเป็น เมล็ดพันธุ์ภายในที่พร้อมจะผลิบานในชีวิตประจำวันและผลิผลในหน้าที่การงานอย่างมีคุณธรรม | 1. บุคลากรขององค์กร ด้านสื่อมวลชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2 .ผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานด้านสื่อสารมวลชน ๑๐ ปี ขึ้นไป | กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) (ศคธ.) |
2 | ผู้นำเยาวชนจิตอาสา | พัฒนาเยาวชนอย่างเป็นรูปธรรม ในการสร้างจิตอาสาให้เกิดขึ้นด้วยการให้ความรู้ ความเข้าใจ การปฏิบัติจริงและการปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยม ในการร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดี ทั้งนี้เพื่อเป็นต้นแบบในการสร้างเยาวชนจิตอาสา และนำไปสู่การพัฒนาโรงเรียน ชุมชน และสังคมต่อไป | 1.นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ - ๕ 2.ครูที่ปรึกษาประจำกลุ่ม | กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) (ศคธ.) |
3 | การเสริมสร้าง ผู้นำจิตอาสา เพื่อพัฒนาองค์กร อย่างมีประสิทธิภาพ | เสริมสร้างความเข้าใจและความตระหนักในคุณธรรม ๓ ประการ คือ ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ และพอเพียง ในระดับตนเอง ครอบครัว และชุมชน ให้แก่ผู้บริหารและบุคลากรในสถานศึกษา | 1. ผู้บริหารและบุคลากรในสถานศึกษา 2. ผู้สนใจแนวคิดเรื่องการบริหารจัดการโครงการส่งเสริมคุณธรรมความดี (กลุ่มเป้าหมาย 80 คนขึ้นไป) | กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) (ศคธ.) |
4 | พัฒนาศักยภาพผู้นำขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนตามวิถีทางแห่งความพอเพียง | นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบนพื้นฐานของคุณธรรมมาพัฒนาชุมชน โดยจัดทำฐานการเรียนรู้ตามกระบวนการเรียนรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นให้ทุกฐานการเรียนรู้สามารถนำไปประยุกต์ใช้และปฏิบัติได้จริง เพื่อพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำทางด้านการขับเคลื่อนกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่เกษตรกรแกนนำ | .เกษตรกรที่เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนตามวิถีทางแห่งความพอเพียง 2.ผู้สนใจแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจชุมชนตามวิถีทางแห่งความพอเพียง (อบรมรุ่นละไม่เกิน 120 คน) | กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) (ศคธ.) |
5 | การบริหารจัดการโครงการส่งเสริมคุณธรรมความดี สำหรับนักธุรกิจ | องค์กรธุรกิจและสังคมมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไม่สามารถแยกขาดออกจากกันได้ หากสังคมมีปัญหาถึงขั้นวิกฤติ องค์กรธุรกิจคงอยู่ไม่ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ผู้บริหารยุคใหม่จึงควรพิจารณาหาวิธีดำเนินการที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่องค์กรคือผลกำไร และสร้างผลประโยชน์แก่สังคมไปพร้อมกัน | 1.ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารและหัวหน้างานในบริษัทต่างๆ 2.ผู้สนใจแนวคิดเรื่องการบริหารจัดการโครงการส่งเสริมคุณธรรมความดี (อบรมรุ่นละไม่เกิน ๔๐ คน) | กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) (ศคธ.) |
6 | การบริหารจัดการโครงการส่งเสริมคุณธรรมความดี สำหรับผู้บริหาร | การดำเนินการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้แก่ข้าราชการระดับบริหาร ระดับผู้บังคับบัญชา และ ระดับปฏิบัติการ เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ ศรัทธาและไว้วางใจในการบริหารแผ่นดินของรัฐบาลและหน่วยงานภาคราชการ รวมถึงตัวข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ | 1.ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารและหัวหน้างานทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน 2.ผู้สนใจแนวคิดเรื่องการบริหารจัดการโครงการส่งเสริมคุณธรรมความดี (อบรมรุ่นละไม่เกิน ๔๐ คน) | กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) (ศคธ.) |
7 | การบริหารสถานศึกษาอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม | สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานนับเป็นองค์กรรากฐานของสังคมไทยในการบ่มเพาะเด็กและเยาวชนให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพและพร้อมเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต จึงควรมีการพิจารณานำการบริหารจัดการอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมมาใช้ในองค์กร ทั้งนี้ เพื่อเป็นแม่แบบและแรงบันดาลใจให้กับสังคมไทยในจิตสำนึกด้านความรับผิดชอบต่อสังคม อีกทั้งยังเป็นหลักประกันให้สถานศึกษาฯ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียทั้งในด้านการบริหารจัดการและการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนรอบข้าง | 1. ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้ากลุ่มงาน ๔ กลุ่มงานหลักตามโครงสร้างการบริหารสถานศึกษา คือ กลุ่มงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณและแผนงาน กลุ่มงาน-บริหารงานบุคคลและ กลุ่มบริหารงานทั่วไป 2. ผู้สนใจแนวคิดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม (อบรมรุ่นละไม่เกิน ๑๒๐ คน) | กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) (ศคธ.) |
8 | ทูตคุณธรรม นำไทยสู่อาเซียน | การส่งเสริมและปลูกฝังคุณธรรม ให้กับเยาวชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป ให้ยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องและชอบธรรม ส่งเสริมค่านิยมและคุณธรรมจริยธรรม ของประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งมีลักษณะเด่นร่วมกันในหลายประการ คือ ความเป็นเอกภาพในความหลากหลาย ความรักชาติ ศรัทธาในศาสนา ศรัทธาในพระมหากษัตริย์ ความเป็นประชาธิปไตย ความเป็นปึกแผ่น | แกนนำเยาวชนในระดับมหาวิทยาลัย อาชีวศึกษา อายุ ระหว่าง ๑๘ - ๒๕ ปี | กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) (ศคธ) |
9 | วิทยากรส่งเสริมคุณธรรม | การอบรมเชิงกิจกรรม มุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมอบรมเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ซึ่งเกิดจากวิทยากร ผู้เข้าอบรม และผู้มีประสบการณ์ตรง อันจะส่งผลให้การเรียนรู้มีความสมบูรณ์ครบมิติในบริบทที่เหมาะสมกับสังคม ซึ่งประกอบด้วย หลักการพื้นฐานคุณธรรมและจริยธรรม คุณธรรม 4 ประการ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตน และผลประโยชน์ส่วนรวม ความสัมพันธ์ระหว่าง การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม จริยธรรม และ การทุจริต โครงงานคุณธรรม องค์กรคุณธรรม ชุมชนคุณธรรม และการพัฒนาเชิงพื้นที่ กิจกรรมในการฝึกอบรม ประกอบด้วย การบรรยาย การอภิปรายกลุ่ม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเรียนรู้จากกรณีศึกษา ซึ่งมุ่งเน้นให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ พร้อมนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมในการดำเนินงานต่อไป | 1.คณะอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมจังหวัด 2.ผู้นำทางศาสนา 3.สภาวัฒนธรรม 4.ประชาชนทั่วไปและผู้เกี่ยวข้อง | กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) (ศคธ.) ร่วมกับ สำนักงาน ป.ป.ช. |
10 | หลักสูตรศาสนศึกษา สำหรับผู้บวชระยะสั้น | หลักสูตรศาสนศึกษาสำหรับผู้บวชระยะสั้น (30วัน) เป็นหลักสูตรสำหรับ เด็ก เยาวชน และประชาชนที่มาเข้ารับการบรรพชาเป็นสามเณร อุปสมบทเป็นพระภิกษุและบวชศีลจาริณี เพื่อรับการฝึกฝนอบรมหลักธรรมคำสอนจากพระสงฆ์ เป็นการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม เพิ่มพูนสติปัญญา สร้างจิตสำนึก ค่านิยมให้ถูกต้อง ให้แก่เด็ก เยาวชนและประชาชนให้เป็นคนดีมีคุณภาพ หลักสูตรประกอบด้วย วิชาธรรมวินัย พุทธประวัติ เทศนา ศาสนพิธี และภาวนา ใช้เวลาเรียน 30 วัน โดยวัด/หน่วยงานที่จัดโครงการ สามารถสอนเสริมองค์ความรู้ด้านต่างๆ ที่เหมาะสม เช่น การเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วัฒนธรรมและประเพณีในท้องถิ่น เป็นต้น | 1.ผู้เข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบทพระภิกษุสามเณรและบวชศีลจาริณีภาคฤดูร้อน 2.เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป | กระทรวงวัฒนธรรมโดย กรมการศาสนา |
11 | การสร้างภูมิคุ้มกัน การทุจริต ด้วยมิติทางศาสนา และเศรษฐกิจพอเพียง | 1. สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากรภาครัฐในการต่อต้านการทุจริต และประพฤติมิชอบ 2. สร้างภูมิคุ้มกันการทุจริตให้กับบุคลากรภาครัฐโดยน้อมนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาลงสู่การปฏิบัติ 3. สร้างแนวทางการป้องกันการทุจริตโดยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4. สร้างเครือข่ายภาครัฐในการป้องกันการทุจริต | ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ในสังกัด | กระทรวงวัฒนธรรมโดย กรมการศาสนา (ศน.) |
12 | ค่ายคุณธรรมเยาวชน | เป็นกระบวนการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานทั้งทางภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนว่า เป็นอีกแนวทางหนึ่งของมิติทางศาสนาที่สามารถพัฒนาทักษะชีวิตแก่ผู้ดำรงตนโดยปกติ และรวมถึงบุคคล ผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ซึ่งกระบวนการจัดค่ายคุณธรรมมีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และการพัฒนาเด็กและเยาวชนทั้งทางกายและทางจิต ทั้งนี้ กิจกรรมแบ่งได้ดังนี้ คือ 1.ภาควิชาการพระพุทธศาสนา ให้ผู้เข้าค่ายได้เรียนรู้หลักการทางพระพุทธศาสนา เพื่อสร้างความเข้าใจในหลักธรรมให้ถ่องแท้ก่อนการฝึกปฏิบัติ 2.ภาคอบรมจิตใจ ให้ผู้เข้าค่ายได้ทำวัตรสวดมนต์ เจริญสมาธิภาวนา ฝึกการทำสมาธิ ฝึกความหนักแน่นและความอดทนของจิตใจ 3.ภาคนันทนาการ ฝึกให้ผู้เข้าค่ายได้แสดงออกอย่างถูกต้อง มีเจตคติที่ดีเป็นคนกล้าหาญที่จะทำความดี 4. กิจกรรมพิเศษ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมและทัศนคติที่ดี เช่น แสงเทียน แสงธรรม ที่มีเป้าหมายเพื่อรำลึกถึงพระคุณแม่ เป็นต้น | เด็กและเยาวชน นักเรียน นักศึกษา | กระทรวงวัฒนธรรมโดย กรมการศาสนา (ศน.) |
13 | ค่ายคุณธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน กลุ่มพิเศษ | กระบวนการฝึกอบรม สนุก = เริ่มต้นด้วยกิจกรรมนำความรู้สู่ปัญญา คือ การทำให้ผู้เข้ารับการอบรม เปิดตา เปิดหู เปิดปาก และเปิดใจ ด้วยการเล่นก่อนแล้วค่อยเรียน สาระ = เมื่อตาดู หูฟัง สมองคิด จิตเปิดใจ ในเนื้อหาที่บรรยายประกอบสื่อสมัยใหม่อย่างเข้าใจก็จะได้สาระธรรม สงบ = เมื่อรับรู้และเข้าใจ ยอมรับและพร้อมที่จะปฏิบัติตามก็นำเข้าสู่ความสงบแห่งใจ สำนึก = เมื่อใจสงบก็สามารถรับรู้ด้วยหัวใจ คือ ฟังด้วยหูรับรู้ด้วยใจก็จะเกิดจิตสำนึกรู้คุณแห่งสรรพสิ่ง สร้างสรรค์ = เมื่อสำนึกตื่นรู้ได้ คือ รู้และเข้าใจด้วยปัญญาก็จะนำไปสู่กระบวนการสร้างสรรค์ความคิดและการกระทำ | 1.เด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง 2.เด็กและเยาวชนที่พิการทางตา หู และสมาธิสั้น | กระทรวงวัฒนธรรมโดย กรมการศาสนา (ศน.) |
14 | หลักการพื้นฐาน ของคุณธรรม | การสร้างความเข้าใจร่วมกัน ในเรื่องความหมาย หลักการ หลักวิชา ทฤษฎีที่เป็นคุณธรรมสากล ภาพรวมของกระบวนการเสริมสร้างคุณธรรม | เด็ก เยาวชน ประชาชน/หน่วยงานและองค์กรต่างๆ | พลเอก ศรุต นาควัชระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ |
15 | หมู่บ้านรักษาศีล ๕ ชาวประชาเป็นสุข | การสร้างเครือข่าย คือ การดำเนินการเพื่อเชิญชวนให้คนในหมู่บ้านมาร่วมกันรักษาศีล ๕ โดยการสร้างเครือข่าย เพื่อเชื่อมโยงกลุ่มคนที่สมัครใจ ที่จะร่วมกันรักษาศีล ๕ ภายใต้พื้นฐานของความเคารพสิทธิ เชื่อถือ เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน เพื่อนำไปสู่จุดหมายที่เห็นพ้องต้องกัน | พุทธศาสนิกชนทุกจังหวัด | สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) |
16 | พัฒนาศักยภาพ ครูแกนนำ | ใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้(Problem-Based Learning:PBL)โดยใช้ลักษณะการตั้งปัญหาเป็นประเด็นนำ กระตุ้นให้มีการคิดวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐาน ค้นหาสาเหตุ และค้นคว้า ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้อง โดยการเรียนรู้จากปัญหา ซึ่งอาจเป็นสถานการณ์จริง เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง การเรียนรู้แบบ PBL จะเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้รู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีม ลักษณะสำคัญของแนวคิดนี้ ได้แก่ 1. มีการเรียนรู้ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นๆ เน้นกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ 2. เนื้อหาสาระจะเป็นลักษณะบูรณาการ โดยผสมผสานเนื้อหาของหลายๆ สาระวิชาเข้าด้วยกัน เพื่อที่จะ อธิบายปัญหา 3. เรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย โดยมีวิทยากรประจำกลุ่มเป็นผู้สนับสนุนและกระตุ้นให้ร่วมกันสร้าง บรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในกลุ่ม 4. การเรียนรู้และค้นคว้าหาความรู้ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตนเองหรือ กลุ่มตั้งไว้ (Self-directed learning) | 1. กลุ่มครู 1.1 ครูแกนนำ ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากผู้บริหารโรงเรียน จำนวนประมาณ ๖ - ๑๐ คนต่อโรงเรียน เข้ารับการอบรมกับศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิสถิรคุณ 1.2 กลุ่มครูของโรงเรียน นอกเหนือจากกลุ่มครูแกนนำที่ร่วมดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม 2. กลุ่มนักเรียนแกนนำ | กระทรวงศึกษาธิการโดย สำนักงาน คณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และ มูลนิธิยุวสถิรคุณ |
17 | หลักสูตรฝึกอบรมบุคลากรทางการศึกษา | หลักสูตรฝึกอบรมบุคลากรทางการศึกษา เป็นการนำเสนอแนวทางการปฏิบัติของศึกษานิเทศก์และบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการพัฒนาโครงการนักเรียน YC โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑.เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานกิจกรรมนักเรียน YC ของสถานศึกษาอย่างถูกต้อง ชัดเจน และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ๒.เพื่อนำนโยบายสู่การปฏิบัติด้วยการวางแผนยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนกลยุทธ์การดำเนินงานนักเรียน YC อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง * (YC - Youth Counselor) (นักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา) หมายถึง นักเรียนที่โรงเรียนพิจารณาคัดสรรว่าเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีจิตอาสา มีทักษะในการรับฟังและให้คำปรึกษา ซึ่งได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ความสามารถในการให้คำปรึกษาเบื้องต้น และปฏิบัติหน้าที่ ให้คำปรึกษาแก่เพื่อนนักเรียน โดยการดูแลชี้แนะอย่างใกล้ชิดจากครูแนะแนว ที่มาจาก : https://www.gotoknow.org/posts/288686) | 1.ศึกษานิเทศก์ 2.นักวิชาการศึกษา | กระทรวงศึกษาธิการโดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) |
18 | โรงเรียนวิถีพุทธ | เป็นการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ หรือประยุกต์ใช้ในการบริหาร และการพัฒนาผู้เรียนโดยรวมของสถานศึกษา เน้นการพัฒนาตามหลักไตรสิกขาอย่างบูรณาการ เน้นการเรียนรู้ผ่านการพัฒนา “การกิน อยู่ ดู ฟัง เป็น” คือ มีปัญญารู้เข้าใจในคุณค่าแท้ ใช้กระบวนการทางวัฒนธรรมแสวงหาปัญญา และ มีวัฒนธรรมเมตตา เป็นฐานการดำเนินชีวิตโดยมีผู้บริหารและ คณะครูเป็นกัลยาณมิตรการพัฒนา | นักเรียนทุกระดับชั้น | กระทรวงศึกษาธิการโดย สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) |
19 | หลักสูตรการศึกษาต่อต้านการทุจริต สู่เยาวชน | การป้องกันและปราบปรามการทุจริตสำหรับเด็กและเยาวชนโดยมุ่งหวังให้เยาวชนยึดมั่นและมั่นคงในการปฏิบัติตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตลอดไป | นักเรียน นักศึกษา | กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ |
20 | เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐ | ให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานราชการต่างๆ เพื่อตระหนักถึงการสร้างจิตสำนึกให้มีคุณธรรม จริยธรรม ต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น ปฎิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม ค่านิยม ด้วยจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติราชการ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชน เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและประโยชน์สุขของประชาชน | 1.ผู้บริหาร และบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับ 3. ผู้สนใจทั่วไป (อบรมรุ่นละ ๕๐๐ คน) | มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ สมาคมพนักงาน เทศบาลแห่งประเทศไทย |