Loading...

ศูนย์ข้อมูลการส่งเสริมคุณธรรม

แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและวีถีวัฒนธรรมไทย

แสดง 121 ถึง 140 จาก 146 ผลลัพธ์
#ชื่อแหล่งเรียนรู้สถานที่ตั้ง/ผู้ประสานงานลักษณะกิจกรรมที่ดำเนินการหน่วยงานสนับสนุน
121ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 1034 ถ.กรุงเกษม แขวงมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพ 10100 ผู้ประสานงาน นายสัญญา โพธิ์ทองคำ โทร. ๐๒ - ๖๕๙ ๖๒๒๓ โทร. ๐๘๑ - ๙๑๔๙๘๖๑ เป็นแหล่งส่งเสริมการจัดกิจกรรมของผู้สูงอายุ ให้ได้มีสถานที่จัดกิจกรรม และบริการ การส่งเสริมด้านอาชีพ และถ่ายทอดภูมิปัญญาของผู้สูงอายุใน ชุมชุน เป็นศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุน อาสาสมัครดูแล จัดระบบข้อมูลผู้สูงอายุในพื้นที่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์โดย สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
122โรงเรียนผู้สูงอายุกรมกิจการผู้สูงอายุ อาคารมหานครยิปซั่ม ชั้น 20 โซน B เลขที่ 539/2 ถ.ศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 ผู้ประสานงาน นายสัญญา โพธิ์ทองคำ โทร. ๐๒ - ๖๕๙๖๒๒๓ โทร. ๐๘๑ - ๙๑๔๙๘๖๑ 1.โรงเรียนผู้สูงอายุ เป็นการจัดการศึกษา อีกรูปแบบหนึ่งที่ต้องการให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต เกิดจากแนวคิดที่ตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญ และพลังของผู้สูงอายุ โดยการสร้างพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น และ ภาคีเครือข่าย 2. เป็นพื้นที่เรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ให้ดำรงสืบทอดเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน 3. เป็น “เวที” ที่เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการทำประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์โดย สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ กรมกิจการผู้สูงอายุ
123วัดมูลจินดาราม ๙๖/๑๒ ม.๓ ถนนรังสิต-นครนายก ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ๑๒๑๓๐ โทร ๐๒ - ๕๗๗ ๑๒๐๓ 1.เป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาธรรมะ และปฏิบัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณร เด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไป 2. เป็นสถานที่อบรมพระสังฆาธิการ พระภิกษุสามเณร ครูสอนพระปริยัติธรรม อบรมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนนักศึกษา แหล่งฝึกอบรมวิชาชีพ ในชุมชน การจัดกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา วันสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ การจัดกิจกรรมประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่น เช่น งานฉลอง “105 ปี อำเภอธัญบุรี” งานโครงการ “ทำดีเพื่อพ่อ” งานประเพณีจุดลูกหนู เป็นต้น 3. เป็นแหล่งส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขสำหรับผู้สูงอายุและบุคลากรของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์โดย สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
124มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ท่าพระจันทร์ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพ 10200 ศูนย์รังสิต 99 หมู่ 18 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12121 1. เป็นสถาบันวิชาการชั้นนำ ในการผลิตบัณฑิต การสร้างองค์ความรู้ และการแก้ปัญหาของประเทศ โดยยึดคุณธรรมและประโยชน์ของประชาชน 2. เป็นสถาบันที่ทำนุบำรุงสังคม ประชาธิปไตย คุณธรรม ศิลปะ วัฒนธรรม ให้แก่ประชาชนและสังคม ผ่านกิจกรรมในหลักสูตร 3. เป็นสถาบันที่ส่งเสริมการเรียนรู้ การเป็นคนดีของสังคม โดยให้นักศึกษาร่วมเป็นจิตอาสาจิตบริการ และเข้าใจบริบทของสังคมไทยกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม เช่น การมีโครงการให้นักศึกษาทำกิจกรรมจิตอาสา ศึกษาดูงาน ช่วยเหลือผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นต้น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์โดย สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
125สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งชายธัญบุรี ๗ หมู่ ๒ ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ๑๒๑๑๐ โทร ๐๒ - ๕๗๗ ๑๓๑๒เป็นแหล่งเรียนรู้ การจัดทำศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง “ธัญบุรีโมเดล” และ การฟื้นฟูคนเร่ร่อนกลับคืนสู่สังคม ทั้งนี้ ธัญบุรีโมเดลเป็นรูปแบบหนึ่งของการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพกลุ่มเป้าหมาย ทั้งทางด้านสุขภาพ จิตใจ อาชีพ และสังคม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านกิจกรรมต่างๆ ตามบริบทของแต่ละพื้นที่ เป็นการ เสริมพลังและปรับเปลี่ยนทัศนคติให้ผู้ร่วมโครงการ ซึ่งมีทั้งคนเร่ร่อน คนไร้ ที่พึ่ง ขอทาน ได้ตระหนักถึงคุณค่าของตนเองจากการพัฒนาทักษะตามความสนใจ เพื่อฝึกอาชีพและขัดเกลาจิตใจ พร้อมทั้งให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาคนไร้ที่พึ่งและขอทาน เพื่อเป็นแหล่งทุนสนับสนุนการประกอบอาชีพหลังกลับคืนสู่ครอบครัวหรือชุมชน เป็นการสร้างโอกาสเพื่อเริ่มชีวิตใหม่ โดยมีสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งชายธัญบุรีและสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี เป็นต้นแบบนำร่อง “ธัญบุรีโมเดล” เมื่อวันที่ 6 พ.ค.2558 และ ขยายผลไปยังสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งทุกแห่งทั่วประเทศต่อไป กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์โดย สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
126โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของ มูลนิธิชัยพัฒนา ๒ พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่อำเภอศีขรภูมิ และอำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ มูลนิธิชัยพัฒนา 2012 ซอยอรุณอมรินทร์ 36 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัดกรุงเทพฯ 10700 โทร. 02-447-8585 - 8 ผู้ประสานงาน นายรัฐ จำปาทอง โทร. 0๒ - ๑๔๑๔๔๒๑ โทร. 0๖๒ – ๙๕๖๑๕๖๒ พื้นที่แหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ได้มีการนำ “ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการโครงการของมูลนิธิชัยพัฒนา หรือ GMIS (Geoinformatics-Management Information System)” ไปใช้ในการบริหารจัดการโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาท้องถิ่นให้เกิดความเจริญ เพื่อความกินดีอยู่ดีของประชาชน ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาประเทศให้เกิดความเจริญอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการโครงการของมูลนิธิชัยพัฒนา หรือ GMIS เป็น Application ระบบภูมิสารสนเทศออนไลน์ Web Map Service ที่ GISTDA (สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและ ภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ) และมูลนิธิชัยพัฒนาได้พัฒนาขึ้นผ่านระบบ Cloud computing ของสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นระบบฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ ปัจจัยพื้นฐานสำหรับใช้ในการวางแผนบริหารจัดการโครงการและข้อมูลเชิงพื้นที่ของมูลนิธิชัยพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเพื่อการรายงาน และติดตามผลการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของมูลนิธิชัยพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลตามเป้าหมายต่อไป กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
127พิพิธภัณฑ์ต้านโกง พิพิธภัณฑ์ต้านโกง สำนักงาน ป.ป.ช. เลขที่ 165/1 ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพ 10300 1. คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้บุคคลภายนอกได้เข้ามาร่วมเรียนรู้ และเป็นการปลูก-ปลุกจิตสำนึกถึงความสำคัญของการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือ เป็นพิพิธภัณฑ์ศูนย์กลางที่สมบูรณ์แบบที่มีรูปแบบและพื้นที่ใช้งานที่ครบครัน ทันสมัยด้วย E-Museum ที่เข้าถึงง่าย และเป็นต้นแบบของการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนจนเชื่อมโยงเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ องค์การภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน มาเรียนรู้ร่วมกันเรื่องการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและร่วมสร้างสังคมโปร่งใสแด่สังคมไทย 2. เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านคุณธรรม เพื่อต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบแห่งแรกของประเทศไทย เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งการเรียนรู้ในลักษณะเฉพาะที่จัดแสดงเรื่องราวในอดีต ปัจจุบัน และเชื่อมอนาคต ภายในอาคาร แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 10 ส่วน ประกอบด้วย 1) ลานสนุกคิด 2) เลือกทางเดิน 3) เมืองมนต์ดำ 4) ตีแผ่ กลโกง 5)กำจัดกลโกง 6)วันชี้ชะตา 7)พลังคุณธรรมขับเคลื่อนสังคม 8)เมืองแห่งแสงสว่าง 9)พลเมืองข่าว ปปช. 10)รวมพลังเครือข่าย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดย สำนักงานคณะกรรมการ นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)
128Salad Station Hydroponics Farm Salad Station Hydroponics Farm ซอยร่มเกล้า 8 ถ.บึงขวาง แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กรุงเทพ 10510 ผู้ประสานงาน นางสาวกมลทิพย์ คล้ายสอน โทร. 02 – 3333762 เป็นแหล่งเรียนรู้การทำฟาร์มผักสลัดในระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน เป็นผักปลอดสารพิษในแปลงสาธิต (Salad Station Hydroponics Farm) ซึ่งดำเนินงานโดย นายชนะวัฒน์ เทียมบุญประเสริฐ ผู้ประกอบการ ที่ได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในธุรกิจตน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดย สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
129ศูนย์การเรียนรู้ ค่ายสุรสีห์ ตามแนวพระราชปรัชญา จังหวัดทหารบกกาญจนบุรี จังหวัดทหารบกกาญจนบุรี ค่ายสุรสีห์ ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 71190 ผู้ประสานงาน นางสาวกมลทิพย์ คล้ายสอน โทร. 02 - 3333762 โทร. 089 - 7790693 1.เป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การสร้างฝายชะลอน้ำ การปศุสัตว์ การเกษตร การทำปุ๋ยชีวภาพ การทำน้ำยาเอนกประสงค์ ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ จักรยานตะบันน้ำ กังหันวิดน้ำ เป็นต้น 2. เป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ ให้ผู้สนใจได้เข้าร่วม เช่น กิจกรรม “โรงเรียนสร้างคน คนสร้างฝาย ถวายในหลวง” กิจกรรม “ปลูกป่าในใจคน” กิจกรรมเข้าค่ายพักแรมของลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด กิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพ กิจกรรมในรูปแบบผจญภัย เป็นต้น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดย สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
130อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร 1281 ค่ายพระรามหก ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120 ผู้ประสานงาน นางสาวกมลทิพย์ คล้ายสอน โทร. 02 - 3333762 ๑. เป็นศูนย์เรียนรู้เชิงนิเวศ ด้านการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พลังงาน และการใช้พลังงานทดแทน ๒. เป็นศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยที่บูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เป็นความรู้ที่ทันสมัย สอดคล้องกับสภาพภูมิสังคม และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง 3. เป็นศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาชุมชนต้นแบบ ด้านการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้สามารถเป็นแบบอย่างต่อการศึกษาเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดย สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
131วัดบวรนิเวศวิหาร ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพ 10200 ผู้ประสานงาน นายธนพัทธ์ ธรรมฉวี โทร. 02 - 2017076 โทร. 092 - 43905551. วัดบวรนิเวศวิหาร (เดิมชื่อว่า วัดใหม่) เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหารสถาปนาขึ้นโดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ 3 พระอารามนี้เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชถึง 4 พระองค์ และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาของสงฆ์แห่งแรกในประเทศไทย ทั้งยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และ วัดประจำรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระประธานในพระอารามนี้มีความแตกต่างจากวัดอื่นๆ โดยทั่วไป คือ มีพระประธาน 2 องค์ และล้วนมีความสำคัญเนื่องจากเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่โบราณ ได้แก่ พระพุทธชินสีห์ ซึ่งอัญเชิญมาจากวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก โดยอัญเชิญมา ราวปี พ.ศ. 2373 และพระสุวรรณเขต หรือ "พระโต" หรือ หลวงพ่อเพชร พระประธานองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานไว้เบื้องหลังพระพุทธชินสีห์เป็นพระประธานองค์แรกของอุโบสถวัดนี้ ซึ่งสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพอัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี 2. วัดบวรนิเวศวิหารมีสถาปัตยกรรมแบบไทยผสมจีน ภายในพระอุโบสถ มีพระพุทธรูป 2 องค์เป็นพระประธาน คือ พระพุทธสุวรรณเขต และ พระพุทธชินสีห์ ถัดจากพระอุโบสถออกไปเป็นเจดีย์กลมขนาดใหญ่ สร้าง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หุ้มกระเบื้องสีทอง รอบฐานพระเจดีย์มีศาลาจีนและซุ้มจีน ถัดออกไปเป็นวิหารเก๋งจีน นอกจากนี้ก็มีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือ ขรัวอินโข่ง บริเวณรอบเจดีย์มีพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่ง คือ พระไพรีพินาศ ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงผนวชและประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร โปรดเกล้าฯ ให้ประติมากรของกรมศิลปากรปั้นหุ่นและสร้าง พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร โดยเสด็จพระราชดำเนินหล่อพระพุทธรูปเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2499 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "พระพุทธนาราวันตบพิตร" (ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.)
132วัดเสมียนนารี 32 หมู่ 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900 ผู้ประสานงาน นายวีระชัย จันลุน โทร.02 – 5967600 ต่อ 1327 1.วัดเสมียนนารี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2400 โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ปี พ.ศ.2420 ผู้ริเริ่มสร้างวัด เป็นสุภาพสตรีในวัง มีตำแหน่งเป็นเสมียนพระคลังข้างที่ มีนามว่า "ท่านเสมียนขำ" และตำแหน่งนี้ ภายหลังตกทอดมายังธิดา คือ คุณท้าวภัณฑสารนุรักษ์(เพิ่มรัตนทัศนีย์) ซึ่งได้ตำแหน่งเป็นเสมียนพระคลังข้างที่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ท่านทั้งสองได้สร้างวัดแครายและทำนุบำรุงวัดมาโดยตลอดตราบเท่าอายุขัยของท่าน ดังนั้นวัดนี้จึงได้ขนานนามว่า "วัดเสมียนนารี" เพื่อเป็นเกียรติประวัติ แก่ท่านทั้งสอง ในปี พ.ศ. 2522 2. ทางวัดได้ก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ลักษณะทรงไทย สร้างด้วยหินอ่อนทั้งหลัง ภายในอุโบสถมีพระประธานพิมพ์พระพุทธชินราช(จำลอง) พระนามว่า “พระศรีศากยะพุทธวงศ์มุนี” และฝาฝนังอุโบสถมีภาพจิตรกรรม ที่สวยงาม เป็นภาพพุทธประวัติ ตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน 3. เป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาธรรมะและปฏิบัติธรรม สำหรับเด็ก เยาวชน และประชาชน มีสำนักเรียนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลี อาคารสำหรับปฏิบัติธรรม ห้องสมุดประชาชน ซึ่งทางวัดได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานคร เมื่อปี 2531กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดย สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.)
133วัดเทวสุนทร ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900 ผู้ประสานงาน นายวีระชัย จันลุน โทร.02 - 5967600 ต่อ 1327 เป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้ ธรรมะ การปลูกฝังและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม แก่เด็ก เยาวชน และประชาชน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดย สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.)
134วนเกษตรเขาฉกรรจ์ 175 หมู่ 6 ตำบลเขาฉกรรจ์ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว 27000 ผู้ประสานงาน นางสาววงเดือน กันโอภาส โทร.02-577 9999ต่อ 1127 โทร. 086 – 0085101 เป็นแหล่งเรียนรู้ การทำเกษตรผสมผสาน การสร้างสวนป่าวนเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การเรียนรู้การใช้ประโยชน์จากต้นไม้ การให้ความรู้ ด้านการตลาดเพื่อการปลูกพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมกับฤดูกาลและตรงกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งผู้ริเริ่ม คือ ดร. เกริก มีมุ่งกิจ ผู้ก่อตั้งโครงการ “คนกล้าคืนถิ่น” และรวมถึงเป็น ประธานกรรมการบริหารธนาคารต้นไม้แห่งชาติ ที่ได้ชวนคนไทยกลับมาทำอาชีพเกษตรกรรม ดำรงตนด้วยวิถีชีวิตที่เรียบง่ายตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดย องค์การพิพิธภัณฑ์-วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
135อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30130 โทร. 086 – 0926527 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เขาใหญ่ เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย มีอาณาเขตครอบคลุม 4 จังหวัด คือ จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปราจีนบุรี และ จังหวัดนครนายก ได้รับสมญานามว่าเป็นอุทยานมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นป่าผืนใหญ่ตั้งอยู่ในเทือกเขาพนมดงรัก เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่สำคัญหลายสาย อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิด เช่น ช้างป่า กวางป่า เก้ง กระทิง เสือ ตลอดจนมีลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงาม มีเนื้อที่ 2,165.55 ตารางกิโลเมตร เขาใหญ่ ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 นอกจากนี้ยังได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ด้วย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดย สถาบันวิจัย- แสงชินโครตรอน (องค์การมหาชน)
136ชุมชน คลองลัดมะยม ชุมชนคลองลัดมะยม หมู่ที่ 15 ถนนบางระมาด แขวงบางละมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพ 10170 ผู้ประสานงาน นายธรรมนุวัฒน์ อังศุสิงห์ โทร. 02 - 49546821. เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำชุมชน โดยชุมชนคลองลัดมะยม เป็นหนึ่งในชุมชนต้นแบบที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการบริหารจัดการน้ำ ตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จนประสบผลสำเร็จ โดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) (สสนก.) ได้นำเทคโนโลยี GPS มาช่วยในการระบุพิกัดตำแหน่ง เพื่อบริหารจัดการแปลงเกษตรในพื้นที่ที่ชุมชน เมื่อเกิดปัญหาน้ำท่วมหรือการขาดแคลนน้ำ ก็สามารถบริหารจัดการได้อย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ ยังมีการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในชุมชน สังเกตระดับของน้ำ ทิศทางของน้ำว่า จะต้องมีการปรับปรุงพัฒนาในแหล่งไหน ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ในอดีต ในชุมชนมีน้ำเน่าเสีย ชาวบ้านต่างทิ้งขยะลงคูคลอง แต่หลังจากได้นำความรู้และเทคโนโลยีที่ได้รับจาก สสนก. มาจัดการน้ำเสีย ทำให้ปัญหาดังกล่าวหมดไป นายชวน ชูจันทร์ ประธานคณะกรรมการการบริหารจัดการน้ำชุมชนและชุมชนคลองลัดมะยม จึงมีแนวคิดการทำตลาดน้ำคลองลัดมะยมขึ้น เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวและหารายได้ในชุมชน ปัจจุบันตลาดน้ำแห่งนี้ได้รับความสนใจ มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเป็นจำนวนมาก เป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน และเสริมสร้างการตระหนักรู้คุณค่าวัฒนธรรมและ วิถีชีวิตที่ดีงามของไทย เพื่อการอนุรักษ์สืบสานให้คงอยู่จนถึงลูกหลานต่อไป กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) (สสนก.)
137ชุมชนบ้านศาลาดิน ชุมชนบ้านศาลาดิน หมู่ 3 ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 ผู้ประสานงาน นายธรรมนุวัฒน์ อังศุสิงห์ โทร. 02 - 49546821.เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) (สสนก.) ได้เข้าไปสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อบริหารจัดการน้ำ และทำงานร่วมกับชุมชน แก้ไขปัญหาน้ำในพื้นที่จนประสบความสำเร็จ สามารถเป็นต้นแบบขยายผลไปยังพื้นที่ข้างเคียงได้ 2. ในอดีตชุมชนบ้านศาลาดินใช้น้ำเป็นทางสัญจรและประกอบอาชีพ ต่อมาเมื่อมีถนนตัดผ่านเข้ามาถึงหมู่บ้าน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชุมชน ความสำคัญของลำคลองลดลง คลองเริ่มเป็นที่ทิ้งขยะ และเต็มไปด้วยผักตบชวา มีการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำในการเกษตร สัตว์น้ำเริ่มลดลง คุณภาพน้ำเริ่มเน่าเสีย และมีปัญหาน้ำท่วมที่มีระยะเวลานานขึ้น เนื่องจากลำคลองตื้นเขินและตัน ทำให้ประสิทธิภาพในการระบายน้ำลดลง ต่อมา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สสนก. ได้เข้ามาสนับสนุนชุมชนบ้านศาลาดิน ด้านเครื่องมือ องค์ความรู้ และร่วมกันแก้ปัญหา ชุมชนได้เรียนรู้ ถึงวิธีการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์ ได้ร่วมกับชุมชนขยายผลการบริหารจัดการน้ำให้ทั่วทั้งตำบล โดยขุดลอกคลองในตำบลมหาสวัสดิ์ทุกคลอง เพื่อให้น้ำในระบบไหลเวียน เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการและระบายน้ำ ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมได้ดียิ่งขึ้น การแก้ปัญหาครั้งนี้ ทำให้เกิดกองทุนดูแลและการจัดการน้ำ ส่งผลให้เกิดการดูแลรักษาคูคลองอย่างเป็นระบบ รวมทั้งมีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรบ้านศาลาดินขึ้น โดยมี นายวันชัย สวัสดิ์แดง เป็นประธาน เพื่อบริหารจัดการน้ำภายในชุมชน จนประสบผลสำเร็จ เป็นชุมชนต้นแบบให้แก่พื้นที่ใกล้เคียง 3. ปัจจุบันเรือสามารถสัญจรได้ตลอดทุกคลองในตำบลมหาสวัสดิ์ และชาวบ้านสามารถนำไปใช้ในการอุปโภคและการเกษตรได้อย่างสะดวก หมดปัญหาเรื่องผักตบชวาและน้ำเน่าเสีย ระบบนิเวศในลำคลองต่างๆ ดีขึ้น ลำคลองและภาพรวมของชุมชนมีความเรียบร้อย สวยงาม เกิดแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรสร้างรายได้ให้ชุมชน รวมทั้งผลผลิตทางการเกษตรดีขึ้นสร้างรายได้เพิ่ม เช่น แปลงบัว หรือนาบัว พื้นที่ 20 ไร่ ซึ่งเป็นแปลงเกษตรที่ทำรายได้มากที่สุด เกษตรกรจะมีรายได้จากการตัดดอกบัวขายทุกวัน และยังมีรายได้จากการปลาที่เลี้ยงในแปลงบัว รอบคันของแปลงบัวยังปลูกพื้นล้มลุก พืชผักสวนครัว เช่น ตะไคร้ กะเพรา โหระพา เตยหอม เพื่อนำไปขายเป็นรายได้อีกทางหนึ่งด้วย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)
138หมู่บ้านโพนงามท่าหมู่บ้านโพนงามท่า ตำบลบ้านแป้น อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร 47230 ผู้ประสานงาน นางสาวกุศล ทองวัน โทร. 02 - 5647000 ต่อ 1442 โทร. 089 – 79981411. บ้านโพนงามท่า จังหวัดสกลนคร เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนที่สูง เป็นที่ราบ ดินมีลักษณะเป็นดินลูกรัง ประชากรรวมทั้งสิ้น 135 ครัวเรือน อาชีพหลัก ได้แก่ การทำนา ซึ่งได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านเทคโนโลยี เมื่อปี พ.ศ. 2529 – 2530 ทั้งนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้เข้ามาสนับสนุนการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับสภาพภูมิสังคมและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงมาถ่ายทอดในพื้นที่หมู่บ้านโพนงามท่า เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน 2. สำหรับเทคโนโลยีที่นำมาให้ชุมชน เช่น การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การทำอิฐดินซีเมนต์ การเลี้ยงโคขุน การผลิตก๊าซชีวภาพ เพื่อใช้ในครัวเรือน การพัฒนาผลิตภัณฑ์จาก “กก” การพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากผักตบ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ การผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากมะขามเปียก การแปรรูปอาหารจากมะขามและธัญพืช การจัดแจกัน ดอกไม้ประดิษฐ์และการตลาด การเพาะเห็ดบดในถุงพลาสติก การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมจีน การผลิตขนมไทยจากข้าวและธัญพืช การผลิตอาหาร โคขุน การผลิตอาหารปลาและการทำน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ เป็นต้น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
139ศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนกลาง ศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนกลาง บ้านหนองมัง ตำบลโนนกลาง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี 34360 ผู้ประสานงาน นางสาวกุศล ทองวัน โทร. 02 - 5647000 ต่อ 1442 โทร. 089 - 799-8141 แหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้รับการสนับสนุนความรู้และเทคโนโลยีจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชิต (สวทช.) และสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) อาทิ การส่งเสริมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มคุณภาพผลผลิตเกษตรอินทรีย์ของชุมชน การพัฒนาการทำเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน การทำโรงเรือนพลาสติกคัดเลือกแสง การบริหารจัดการโรงเรือน การส่งเสริมการปลูกพืชหลังนา การแปรรูปผลิตภัณฑ์ เช่น ไอศกรีมข้าวหอมมะลิแดง เป็นต้น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
140อาศรมพลังงาน อาศรมพลังงาน เลขที่ 135/4 หมู่ที่ 4 ถนนธนะรัขต์ ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30130 โทร. 044 – 297621 โทร. 081 – 6600377 ผู้ประสานงาน นางสาวกุศล ทองวัน โทร. 02 - 5647000 ต่อ 1442 โทร. 089 - 7998141 1. เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงาน โดยอาศรมพลังงานเป็นองค์กรที่เน้นการพัฒนา ประยุกต์ นำเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกับทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อที่จะส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้หลักธรรมของของศาสนา ยึดหลักเหตุและผล มาเป็นกุศโลบายในการถ่ายทอดวิธีคิดและเปลี่ยนทัศนคติในเรื่องการใช้พลังงาน โดยการเริ่มปฏิบัติที่ตัวเรา 2. อาศรมพลังงานเป็นสถานที่ ที่ไม่ใช่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี แต่เป็นศูนย์ถ่ายทอดวิธีคิด เพื่อการพึ่งพาตนเอง โดยเน้นการพัฒนาคนให้เข้าใจตัวเราเอง ตระหนักเป็นพื้นฐาน และใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติอย่างเหมาะสม โดยอาศัยหลักแนวคิด หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนามาเป็นปรัชญาในการต่อยอดกิจกรรมในอาศรมพลังงาน 3. ภูมิปัญญาที่จัดเป็นกิจกรรมภายในอาศรมพลังงาน แบ่งเป็น 2 ประเภท 3.1 ภูมิปัญญาที่จับต้องไม่ได้ ได้แก่ การฝึกปฏิบัติการเจริญสติ การนั่งสมาธิ การเดินจงกรม การปรับเจตคติในจิตใจของมนุษย์ซึ่งใช้หลักความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม หลักของการเกื้อกูลกันในเหตุผลที่ว่า “ถ้าเราไม่ทำร้ายธรรมชาติ ธรรมชาติก็ไม่ทำร้ายเรา” 3.2 ภูมิปัญญาที่จับต้องได้ ได้แก่ ฐานอาคารประหยัดพลังงาน ฐานเครื่องทำน้ำร้อนพลังแสงอาทิตย์ ฐานเตาเผาถ่านและน้ำส้มควันไม้ ฐานระบบผลิตไฟฟ้าด้วย ชีวมวล ฐานไบโอดีเซล ฐานเกษตรธรรมชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)