Loading...
ศูนย์ข้อมูลการส่งเสริมคุณธรรม
แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและวีถีวัฒนธรรมไทย
แสดง 61 ถึง 80 จาก 146 ผลลัพธ์
# | ชื่อแหล่งเรียนรู้ | สถานที่ตั้ง/ผู้ประสานงาน | ลักษณะกิจกรรมที่ดำเนินการ | หน่วยงานสนับสนุน |
---|---|---|---|---|
61 | ศูนย์เรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดนราธิวาส | 58 หมู่ที่ 2 บ้านภูเขาทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ผู้ประสานงาน นายสัณฐิติสุข แก้วคง โทร. 084 – 6314905 | 1. เป็นศูนย์เรียนรู้จุดสาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาดินและเกษตรกรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการปลูกพืชสมุนไพร การปลูกพืชผักผสมผสาน การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การปลูกพืชผัก แบบผสมผสาน การใช้วัสดุเหลือใช้ในครัวเรือน การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ และสารไล่แมลงโดยใช้สารเร่ง 2. ศูนย์มีอาคารฝึกอบรม ที่สามารถรองรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ ประมาณ 30 – 35 คน มีฐานการเรียนรู้ทั้งภายใน และสถานที่ศึกษาดูงานภายนอก ศูนย์ รวมทั้งมีแปลงสาธิตฝึกปฏิบัติ | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
62 | ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริฯ และศูนย์สาธิตและส่งเสริมงานศิลปาชีพ ภาคเหนือ | 222 หมู่ 2 ตำบลแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 50180 โทร. 053 – 299758 www.northernstudy.org [email protected] | 1. เป็นแหล่งการเรียนรู้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นในแบบ edutainment สำหรับเด็ก เยาวชน และผู้ที่สนใจ โดยมีหลายส่วน ได้แก่ 1) ส่วนนิทรรศการ ฐานการเรียนรู้ เช่น ฐานนาข้าว ฐานการเลี้ยงสัตว์ ฐานพืชผักผลไม้ ฐานเพาะเห็ด ฐานบัญชีฟาร์ม ฐานการเลี้ยงหมูหลุม 2) ส่วนการสาธิตงานศิลปาชีพ เช่น สาธิตการทอผ้า จักสาน แกะสลัก ทำกระดาษสา 3) ส่วนให้บริการ การใช้สถานที่ในการจัดกิจกรรม เช่น ห้องอบรมประชุม สัมมนากิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ของหน่วยงานต่างๆ การใช้สถานที่ในการจัดงานและกิจกรรมทุกประเภท งานเลี้ยงขันโตก การแสดงศิลปะพื้นบ้านล้านนา การปล่อยโคมลอย และกิจกรรมอื่นๆ เป็นต้น 2. ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ฯ และศูนย์สาธิตและส่งเสริมงานศิลปาชีพฯ ภาคเหนือ มีพื้นที่ในการดำเนินการจำนวน 78 ไร่ และได้เชื่อมโยงใช้พื้นที่ของกรมการสัตว์ทหารบก(กองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 3 กรมการสัตว์ทหารบก) ในการดำเนินการเพื่อการศึกษาเรียนรู้ ในทางด้านการฝึกอบรมด้านเกษตรอินทรีย์และการสาธิตการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอีกจำนวน 41 ไร่ รวมพื้นที่ในการดำเนินการทั้งหมด 219 ไร่ | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
63 | ศูนย์การเรียนรู้ บ้านแสงเทียน | 118 หมู่ 1 ตำบลเมืองจัง กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน 55000 ผู้ประสานงาน นายชูศักด์ หาดพรหม | 1. เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการทำเกษตรกรรมแบบผสมผสาน 1) ด้านพลังงานทดแทน เช่น การผลิตเตาถ่านประหยัดพลังงาน การผลิตน้ำมันไบโอดีเซล การผลิตแก๊สจากเชื้อเพลิงแกลบ 2) ด้านสารทดแทนการใช้สารเคมี เช่น การผลิตสารขับไล่แมลงจากพืชสมุนไพร การผลิตจุลินทรีย์จากธรรมชาติ และการผลิตปุ๋ยหมัก 3) ด้านนวัตกรรมใหม่ในการปลูกพืช เช่น การปลูกมะนาวนอกฤดู การผลิตผักหวานป่านอกฤดู 4) ด้านนวัตกรรมใหม่ในการเลี้ยงสัตว์ เช่น การเลี้ยงกบในกระชัง ซึ่งสามารถเลี้ยงได้ตลอดปี การเลี้ยงสัตว์ปีกโดยสารชีวภาพ(ไม่ใช้ยาปฎิชีวนะในการเลี้ยง) 2. ทางศูนย์ฯ มีหลักสูตรให้ผู้สนใจได้ศึกษา เรียนรู้ และอบรม 10 ฐาน(วิชา) ดังนี้ 1) แนวคิดและหลักการผลิตในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน 2) พลังงานทดแทน(การผลิตน้ำมันไบโอดีเซล,พลังงานชีวมวลจากเชื้อเพลิงแกลบ) 3) การเผาถ่านด้วยถังน้ำมัน 200 ลิตรและประโยชน์จากน้ำส้มควันไม้ 4) หลักธรรมชาติของพืช และการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการบริหารจัดการ 5) การผลิตปุ๋ยหมัก และการปรับปรุงบำรุงดินโดยอินทรียวัตถุ 6)การผลิตฮอร์โมน สารสกัดขับไล่แมลง จากพืชสมุนไพรและไม้ผล 7) การเพาะพันธุ์เห็ด(เห็ดนางฟ้า,เห็ดฟาง) 8) การเลี้ยงสัตว์และผลิตอาหารสัตว์ โดยภูมิปัญญาชาวบ้าน 9) การผลิตน้ำยาเอนกประสงค์ และการแปรรูปอาหาร 10) พันธุกรรมพื้นบ้าน | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
64 | ศูนย์การเรียนรู้เกษตรผสมผสาน (พ่อมหาอยู่) | 6 หมู่ 4 หมู่บ้านบ้านตะแบก ตำบลสลักได อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 32000 ผู้ประสานงาน นายมหาอยู่ สุนทรธัย โทร. 084 – 4513648 | 1. เป็นพุทธเกษตรที่นำความรู้ทางพุทธศาสนามาประยุกต์กับการทำเกษตรผสมผสาน 2. มีการออมน้ำ ออมความอุดมสมบูรณ์ของดิน การออมสัตว์ และออมต้นไม้ยืนต้นทั้งผัก ผลไม้ และไม้ไม้ใช้สอย 3. มีการจัดการที่ชัดเจน 4. มีรูปธรรมการมีความสุขในมิติต่างๆ | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
65 | ศูนย์เรียนรู้ตามรอยเบื้องยุคลบาทจังหวัดระนอง | 188/7 หมู่ที่3 ตำบลบางริ้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง 85000 ผู้ประสานงาน นายมนู มีชัย โทร 081 - 8249026 | เป็นศูนย์การเรียนรู้ทักษะชุมชนตามแนวคิดพระราชดำริ เพื่อเผยแพร่แนวคิด และสร้างภูมิความรู้ให้กับชุมชนกับทฤษฎีไตรนิเวศ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (ดิน น้ำ ป่าไม้) อย่างยั่งยืน การสร้างสวนเกษตรให้เป็นป่าคงความหลากหลายของพืชพันธุ์ เพื่อการใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม และแนวคิดพร้อมการปฏิบัติในการเพาะเลี้ยงด้านการประมงชายฝั่งและการจัดการระบบนิเวศน์ชายฝั่งทะเล เช่น การทำฟาร์มปูนิ่ม บ่อปลากระพง เป็นต้น | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
66 | ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนตำบลบ้านขาว | 30 หมู่ 1 บ้านหัวป่า ตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา 90140 ผู้ประสานงาน นายสมปอง ฉิมดำ โทร 089 – 4624755 | เป็นแหล่งเรียนรู้เกษตรกรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ 1. การปลูกข้าวอินทรีย์ที่ลดการใช้สารเคมี 2. การแบ่งพื้นที่เพาะปลูกในรูปแบบไร่นาสวนผสม เช่น ปลูกพริกร่วมกับ ข้าวโพด, ขนุน, มะม่วง การแบ่งพื้นที่เลี้ยงไก่ไข่โดยให้อาหารเป็นผลผลิตที่เหลือจากการขายและบริโภค การขุดบ่อน้ำเป็นแหล่งน้ำสำรองพร้อมทั้งเลี้ยงปลาเพื่อบริโภคและขาย 3. การทำปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชใช้เอง ตามการใช้งานแต่ละประเภท เช่น น้ำหมักชีวภาพจากวัสดุในท้องถิ่นและผลผลิตที่เหลือจากการบริโภค ซึ่งได้ผลเทียบเท่าปุ๋ยเคมี, การทำน้ำส้มควันไม้เพื่อใช้ในการเกษตร เป็นต้น | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
67 | ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน อําเภอปาย | 76/1 หมู่ที่ 2 บ้านนาเติง ตำบลแม่นาเติง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58130 ผู้ประสานงาน นายยรรยงค์ ยาดี โทร. 089 - 2622282 โทร. 053 – 065049 | เป็นแหล่งเรียนรู้ ที่มีกิจกรรมสำหรับผู้สนใจได้ศึกษา เรียนรู้ ประกอบด้วย 9 ฐาน ได้แก่ 1) องค์ความรู้แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง 2) องค์ความรู้ดินและปุ๋ย 3) การทำปุ๋ยหมักและสารไล่แมลง 4)การทำบัญชีครัวเรือน 5)การทำน้ำส้มควันไม้ 6)สมุนไพรท้องถิ่น/นวดแผนไทย 7)แหล่งรวมของวัฒนธรรมท้องถิ่นของชนเผ่าใน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 8)การทำนาข้าวด้วยวิธีโยนกล้า 9) การศึกษาดูงานนอกสถานที่ของสมาชิกเครือข่าย | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
68 | ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ | 95 หมู่ 6 ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส 96000 | 1. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ดำเนินการศึกษาวิจัยและทดลองเพื่อแก้ปัญหาดิน พัฒนาพื้นที่ และหารูปแบบวิธีการที่เหมาะสมในการประกอบอาชีพ โดยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางบริการข้อมูล การสาธิต และการฝึกอบรม ดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ การเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน เพื่อให้นำไปใช้พัฒนาพื้นที่ที่มีปัญหาพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะในจังหวัดนราธิวาสที่เคยถูกทอดทิ้งให้เปล่าประโยชน์ ให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น สามารถปลูกข้าว ปลูกผัก และปลูกพืชไร่ ส่งผลให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น 2. ทางศูนย์มีกิจกรรมที่น่าสนใจให้ศึกษา เรียนรู้ ดังนี้ 1)การศึกษาพัฒนาดินอินทรีย์และดินเปรี้ยวจัด 2)การศึกษาปัญหาระบบการปลูกพืช การปลูกพืชร่วมกับยางพารา เช่น ระกำ ไม้ดอก 3)การเกษตรยั่งยืนตามแนวทฤษฎีใหม่ 4) การปลูกไม้ดอกเมืองหนาว 5) การฝึกอบรมและส่งเสริมงานศิลปาชีพพิเศษ และอื่น ๆ | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
69 | ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลบันนังสาเรง | 2 ตำบลบันนังสาเรง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000 โทร. 081 - 3685734 โทร. 080 - 7026927 โทร. 086 – 2946002 | 1. เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรกรรม สอนการทำแปลงเกษตรผสมผสาน การทำปุ๋ยชีวภาพและกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การปรับแนวคิดเกี่ยวกับการทำการเกษตรเพื่อเตรียมเข้าสู่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การปรับปรุงระบบเกษตรที่เอื้อต่อสิ่งแวดล้อม การจัดระบบของการออมทรัพย์และการวางแผนการผลิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2. ศูนย์มีอาคารฝึกอบรมสามารถรองรับผู้เข้าอบรมได้รุ่นละ 40 คนและ สถานที่พัก มีโรงครัว และมีฐานการเรียนรู้และการสาธิตที่เหมาะสม รวมทั้งมีสถานที่จัดกิจกรรมภาคปฏิบัติภายในศูนย์ | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
70 | ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสองสลึง | 322/1 หมู่ 8 ตำบลสองสลึง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง 21110 ผู้ประสานงาน 1. นายสมศักดิ์ เครือวัลย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร. 038 - 632281 โทร. 081 - 9822404 2. นางสาวกุศล ทองวัน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร. 02 – 5647000 ต่อ 1442 | 1. เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ เกษตรชีวภาพ เกษตรธรรมชาติโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การจัดการองค์ความรู้และการสร้างวิทยากรแกนนํา การอบรมเกี่ยวกับการทำการเกษตรโดยยึดหลักกสิกรรมธรรมชาติ “ เลี้ยงดินเพื่อให้ดินเลี้ยงพืช ” การปลูกป่า 3 อย่างเพื่อประโยชน์ 4 อย่าง การเผาถ่านทำน้ำส้มควันไม้ การผลิตไบโอดีเซล/ไบโอแก๊ส การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ การปลูกผลไม้และสมุนไพรต่างๆ โดยใช้สารชีวภาพ และการเลี้ยงสัตว์บก/น้ำ การเรียนรู้และการปฏิบัติการทำน้ำยาเอนกประสงค์ใช้เองในครัวเรือน เช่น สบู่แชมพูน้ำยาล้างจาน การปลูกหญ้าแฝก เป็นต้น 2.ทางศูนย์มีอาคารฝึกอบรม สามารถรองรับผู้เข้าอบรมได้ประมาณ 100 คน | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) |
71 | ศูนย์เรียนรู้เพื่อชีวิต ที่ยั่งยืน บ้านท่าอยู่ | 55/1 หมู่ที่ 2 บ้านท่าอยู่ ตำบลท่าอยู่ อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา 82130 ผู้ประสานงาน นายสมพงษ์ พรผล โทร. 089 – 5938193 | 1. เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรผสมผสาน การจัดทำแปลงสาธิตยางพาราและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การทำปุ๋ยหมักน้ำหมักชีวภาพ การใช้ปุ๋ยกับต้นพืช การทำไร่นาสวนผสมและการจัดทำแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม 2. ศูนย์มีอาคารฝึกอบรม รองรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ประมาณ 60 คน มี เต็นท์พัก 10 หลัง หลังละ 4 คน มีห้องน้ำ 4 ห้อง มีโรงอาหาร และวัสดุอุปกรณ์การฝึกอบรมที่เพียงพอ มีฐานการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับหลักสูตรการฝึกอบรม | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
72 | ศูนย์เครือข่ายกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ตําบลป่าไผ่ | 41/2 หมู่ 9 บ้านห้วยแหนพัฒนา ตำบลป่าไผ่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน 51110 ผู้ประสานงาน นายสุรัตน์ รุกขรัตน์ โทร. 053 - 536145 โทร. 084 - 15409922 | 1. เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สอนการปรับแนวคิดและพฤติกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง การจัดทำแปลงเกษตรแบบผสมผสาน การผลิตจุลินทรีย์ท้องถิ่น การเลี้ยงไก่ กบ ปลาดุก จิ้งหรีด พลังงานทดแทนลดภาวะโลกร้อน การผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ การทำน้ำยาเอนกประสงค์ การเพาะเห็ดนางฟ้า ปุ๋ยหมักชีวภาพ และสารไล่แมลงจากพืชสมุนไพร การทำบัญชีครัวเรือน 2. ภายในศูนย์มีกิจกรรมที่น่าสนใจ ดังนี้ 1) การทำแปลงเกษตรผสมผสาน 2) การผลิตปุ๋ยหมัก 3) การผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ 4) การทำน้ำยาเอนกประสงค์ 5)การผลิตลำไยระบบอินทรีย์โดยไม่ใช้สารเคมี 6) การปลูกหญ้าแฝก 3. ศูนย์มีศักยภาพในการจัดการฝึกอบรม มีอาคารฝึกอบรม สามารถรองรับผู้เข้ารับการอบรมได้ประมาณ 50 คน มีอาคารที่พักและห้องน้ำที่เพียงพอ มีการฝึกปฏิบัติตามฐานการเรียนรู้ภายในศูนย์ และศึกษาดูงานแปลงเกษตรตัวอย่างภายในชุมชน มีสื่อการเรียน มีวัสดุอุปกรณ์ ทั้งภาคทฤษฎี และภาคการปฏิบัติ ที่เหมาะสม | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
73 | ศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาน บ้านโนนขวาง | บ้านโนนขวาง ตำบลโนนขวาง อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ 31000 ผู้ประสานงาน นายทองคำ ลิ้มรัมย์ โทร. 089 – 9583580 | เป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางพระราชดำริฯ ในด้านการบริหารจัดการน้ำทำการเกษตร ช่วยให้เกษตรกรมีน้ำใช้ในฤดูแล้ง โดยไม่เกิดปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก สามารถทำการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์เพื่อหาเลี้ยงชีพ ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรดีขึ้น | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
74 | ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนกลุ่มอีโต้น้อย | บ้านสระคูณ ตำบลโคกล่าม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 31130 ผู้ประสานงาน นายผาย สร้อยสระกลาง | 1. ผู้ริเริ่มการทำศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ คือ นายผาย สร้อยสระกลาง หรือ “พ่อผาย” โดยเป็นศูนย์การเรียนรู้การทำเกษตรกรรมผสมผสาน อาทิ การขุดสระเลี้ยงปลา การปลูกผลไม้ การปลูกผัก การทำนาข้าว การเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ในที่นา เป็นต้น 2. ศูนย์ฯ แห่งนี้ เน้นการพึ่งตนเอง มีการจัดการด้านการขยายเครือข่ายอย่างชัดเจน ทั้งในระดับกลุ่ม หมู่บ้าน อำเภอ และจังหวัด สร้างเด็กรักถิ่นมาสืบทอดการเรียนรู้ มีการจัดการด้านกองทุนต่างๆ เช่น กองทุนออมน้ำ กองทุนวัวควาย กองทุนวัฒนธรรม เป็นต้น | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
75 | ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติวัดป่ายาง | วัดป่ายาง 174/1 หมู่ 4 ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000 ผู้ประสานงาน พระสุวรรณ คเวสโก โทร. 075 - 377281 [email protected] | 1. ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติวัดป่ายางเป็นเครือข่ายของมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โดยมีพระนักพัฒนา คือ พระสุวรรณ คเวสโก เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งมีบทบาทในการผสานวัดกับชุมชน โดยให้วัดเป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนาชุมชนป่ายาง นำคนเข้าสู่วิถีธรรม ฟื้นระบบการออมระดับครอบครัว พัฒนาระบบสวัสดิการชุมชน ฟื้นระบบการเกษตรของชาวป่ายางให้เข้าวิถีของการพึ่งพาตนเอง เพื่อให้สอดคล้องกับยุคปัจจุบัน และขยายผลสู่ชุมชนอื่น โดยมีการจัดตั้งกลุ่มและโครงการที่เป็นพื้นฐานในการที่จะพัฒนาได้อย่างยั่งยืน เช่น โครงการจัดตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ โครงการโรงงานผลิตน้าดื่ม โครงการปุ๋ยปั้นเม็ด เป็นต้น ทั้งนี้ศูนย์ฯ ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฏีใหม่โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตั้งแต่ปี 2550 2. ทางศูนย์ฯ มีหลักสูตรกสิกรรมธรรมชาติสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับผู้สนใจได้ศึกษา เรียนรู้ อาทิ การทำสบู่น้ำผึ้งผสมมะขาม การทำน้ำหมักชีวภาพ การทำน้ำสกัดชีวภาพจากสัตว์ การทำปุ๋ยหมักแห้ง การเตรียมดินสำหรับเพาะเมล็ดพืช การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์และเทคนิคการผลิตปุ๋ย อินทรียชีวภาพ การฝึกปฏิบัติการทำน้ำมันไบโอดีเซล ทำก๊าซชีวภาพ การเผาถ่านและน้ำส้มควันไม้ การทำสปาถ่าน การทำนาข้าวปลอดสารพิษ และการปลูกป่า 5 ชั้น เป็นต้น 3. ทางศูนย์มีความพร้อมในการจัดฝึกอบรม โดยใช้สถานที่ของวัดป่ายาง มีศาลาฝึกอบรม รองรับคนได้ประมาณ 50 - 100 คน มีที่พักชายจำนวน 25 หลัง ที่พักหญิงจำนวน 2 หลัง แต่ถ้ากรณีที่มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวนมาก สามารถพักได้ในพระอุโบสถ มีห้องน้ำ มีจำนวน 15 ห้อง มีโสตทัศนูปกรณ์และวัสดุประกอบการจัดฝึกอบรมที่เพียงพอและมีทีมงานวิทยากรที่ประสบความสำเร็จในการทำการเกษตร | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
76 | ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน กลุ่มเกษตรเพื่อสิ่งแวดล้อม ตำบลบ้านยาง | 23/1 ม.2 ตำบลบ้านยาง อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84180 ผู้ประสานงาน นายจำนงค์ ประวิทย์ โทร. 084 - 7724759 โทร. 089 - 8719646 | 1. เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการทำเกษตรผสมผสาน การก่อตั้งกองทุนธนาคารหมู่บ้านเพื่อการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ กองทุนผู้ใช้รถและกองทุนสวัสดิการเพื่อนช่วยเพื่อน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ การเกษตรอินทรีย์ /ชีวภาพ การจัดทำแปลงเรียนรู้แบบผสมผสาน การนวดแผนไทย ( แพทย์แผนโบราณ ) 2. ศูนย์มีอาคารฝึกอบรม รองรับผู้รับการอบรมได้ประมาณ 80 คน มีอาคารที่พักจำนวน 2 หลัง หลังละประมาณ 20-50 คน มีห้องน้ำจำนวน 4 ห้อง แยกชาย-หญิง มีโรงครัวโรงอาหาร มีฐานการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับกิจกรรมตามหลักสูตร มีโสตทัศนูปกรณ์ และสื่อการเรียนการสอน | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
77 | ศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาน “สวนลุงไกร” | 111 ม.2 บ้านสุขสมบูรณ์ ตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา 30370 ผู้ประสานงาน นางสาวอภิรดี เครือจีนเต็ง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [email protected] | เป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ริเริ่มโดยนายไกร ชมน้อย เป็นเกษตรกรคนแรกที่ได้นำพืชผักเมืองหนาวเข้ามาปลูกในเขตพื้นที่ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ด้วยวิธีการปลูกพืชผักแบบปลอดสารพิษ สำหรับพืชผักที่มีการปลูกหมุนเวียนอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ ผักสลัด ชนิดต่างๆ เนื่องจากตลาดมีความต้องการผักเหล่านี้ค่อนข้างสูง ช่วยสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดย สถาบันวิจัย แสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) |
78 | ศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาน จังหวัดบุรีรัมย์ | 34 บ้านปากช่อง ตำบลสนามชัย อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ 31150 โทร. 044 – 782313 | จุดเริ่มต้นของแหล่งเรียนรู้แห่งนี้ เกิดจาก นายสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ หรือที่รู้จัก ในนามของ “ครูบาสุทธินันท์” เป็นปราชญ์ชาวบ้านที่ทำเกษตรประณีตเพื่อเป็นต้นแบบในการเรียนรู้แก่เกษตรกรผู้สนใจได้นำไปปฎิบัติตาม โดยมีการทำ แปลงเกษตรประณีต 1 ไร่ แปลงสมุนไพร สวนป่ายูคาลิปตัส โรงเผาถ่าน บ่อเลี้ยงปลา โรงเรือนเลี้ยงวัว เลี้ยงนกกระจอกเทศ เลี้ยงไก่ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และอื่นๆ เป็นต้น ซึ่ง “ครูบาสุทธินันท์” เป็นตัวอย่างของเกษตรกรที่มีการจัดการความรู้ที่ดีในทำพื้นที่น้อยให้มีประโยชน์ สามารถอยู่ได้ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งการพัฒนาไปสู่ความรู้อื่นๆ อีกมากมาย | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
79 | ศูนย์การเรียนรู้ การพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่สถานีพัฒนาที่ดินสกลนคร | หมู่ 3 บ้านดงขุมข้าว ตำบลพังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร 042 - 74121 [email protected] | เป็นแหล่งเรียนรู้ การสาธิต การฝึกอบรมผู้นำเกษตรกรและการเผยแพร่กิจกรรมของงานพัฒนาที่ดินในจังหวัดสกลนคร โดยมีพื้นที่รับผิดชอบ 18 อำเภอ | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
80 | ศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสานบ้านม่วงกลวง | 2/10 หมู่ที่ 1 ตำบลม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง 85120 ผู้ประสานงาน นายแดง มีแสง โทร. 086 - 1209914 | 1. เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเลี้ยงโคเนื้อแบบครบวงจร การปรับปรุงพันธุ์โคเนื้อ (การผสมเทียม) การปลูกปาล์มด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์ การปลูกผักปลอดสารพิษ การทำน้ำส้มควันไม้ การทำน้ำผลไม้ การทำน้ำยาเอนกประสงค์ การทำปุ๋ยชีวภาพ การหั่นทางปาล์ม การทำปุ๋ยอัดเม็ด สมุนไพรน่ารู้กับชีวิตประจำวัน การเลี้ยงปลาน้ำเค็มในกระชัง และการทำบัญชีครัวเรือน 2. ศูนย์มีความพร้อมในการจัดการฝึกอบรม ประกอบด้วย อาคารฝึกอบรมจำนวน 1 หลัง ห้องน้ำ จำนวน 9 ห้อง โดยสถานที่พักสำหรับผู้อบรม ใช้วิธีกางเต็นท์ ภายในศูนย์ รองรับผู้อบรมได้ประมาณ 60 คน และมีฐานการเรียนรู้ ที่เหมาะสมกับกิจกรรมตามหลักสูตร | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |