Loading...
ศูนย์ข้อมูลการส่งเสริมคุณธรรม
แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและวีถีวัฒนธรรมไทย
แสดง 41 ถึง 60 จาก 146 ผลลัพธ์
# | ชื่อแหล่งเรียนรู้ | สถานที่ตั้ง/ผู้ประสานงาน | ลักษณะกิจกรรมที่ดำเนินการ | หน่วยงานสนับสนุน |
---|---|---|---|---|
41 | ศูนย์เกษตรกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมชุมชน คีรีวง | 59 หมู่9 บ้านขุนคีรี ตำบลกาโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ประสานงาน คุณวิรัตน์ ตรีโชติ โทร. 089 9086427 โทร. 075 - 533225 | 1. เป็นแหล่งเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การเพาะพันธุ์กล้าไม้ในโรงเพาะชำ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้ป่าหายาก และการเพาะเลี้ยงและขยายเชื้อราไซโคเดอร์ม่า โดยมีหลักสูตร “วิถีชีวิตชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง” จำนวน 6 หลักสูตร ดังนี้ คือ 1) การเพาะขยายพันธุ์/ผักปลอดสาร/การปลูกต้นไม้ 2) การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 3) ปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ/เชื้อราไซโคเดอร์ม่า 4) การแปรรูปผลผลิตการเกษตรจากสวนสมรม(ส้มแขก มังคุด ทุเรียนกวน) 5) ผ้ามัดย้อม และผ้าบาติกสีธรรมชาติ 6) หัตถกรรมพื้นบ้านและสมุนไพร 2. ศูนย์มีความพร้อม ในการจัดการฝึกอบรม ประมาณ 200 คน โดยสถานที่ฝึกอบรม ได้ใช้ศูนย์การท่องเที่ยวของชุมชน มีอาคารที่พักรองรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้บางส่วน นอกนั้นได้ใช้ที่พักแบบโฮมสเตย์ในชุมชน มีห้องน้ำที่เพียงพอ มีความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ประกอบการฝึกอบรม และมีทีมงานวิทยากรที่มีประสิทธิภาพ | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
42 | ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติภูเก็ต | 67/147 หมู่ที่ 2 ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000 ผู้ประสานงาน คุณสุเทพ เอนกพินิจธรรม โทร 076 - 355578- 9 โทร 081 – 5697791 | 1. เป็นแหล่งเรียนรู้การเกษตรผสมผสานปลอดสารพิษ การบริหารจัดการด้านการตลาดผักปลอดสารพิษ การทำปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอัดเม็ดโดยเครื่องจักร (มีโรงงานปุ๋ยสาธิต ) การปลูกผักแบบไร้ดิน การปลูกพืชสมุนไพร การเลี้ยงปลาน้ำจืดการศึกษาดูงานเครือข่ายด้านการเพาะเห็ด หัตถกรรม และการเลี้ยงแพะ 2. ทางศูนย์มีศาลาสำหรับการฝึกอบรมจำนวน 1 หลังที่สามารถรองรับผู้เข้าร่วมอบรมได้ประมาณ 100 คน มีอาคารที่พักจำนวน 2 หลังแยกชาย-หญิง มีห้องน้ำจำนวน 10 ห้อง มีฐานการเรียนรู้ที่เป็น สถานที่สาธิต มีโรงผลิตปุ๋ยอินทรีย์ 1 หลัง และทีมงานวิทยากรของศูนย์ที่ประสบความสำเร็จในการทำการเกษตร | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
43 | ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านสายกลาง (ในกอย) | 217 หมู่ 9 ตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง 93170 ผู้ประสานงาน นายนัน ชูเอียด โทร. 087-837-7042 | เป็นแหล่งเรียนรู้การเกษตร การปลูกพืชผสมผสาน อาทิ สละ ผักเหรียง มะละกอ โดยเฉพาะ มะละกอที่ใช้เวลาเพียง 5 - 6 เดือน สามารถให้ผลผลิตได้แล้ว ซึ่งผลผลิตสูงเฉลี่ย 40-50 ผล/ปี/ต้น สามารถเป็นทางเลือกของเกษตรกรได้ เนื่องจากตลาดมีความต้องการไม่จำกัด และ มีการขยายพื้นที่ปลูก อีก 3,000 ต้น โดยเกษตรกรและผู้สนใจสามารถเข้ามาศึกษาดูงานภายในศูนย์ดังกล่าวได้ | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
44 | ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติทุ่งสง | 283 หมู่ที่4 บ้านหนองแร้ง ตำบลนาโพธิ์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80110 | . เป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรกรรม โดยมีหลักสูตร อบรมให้แก่ผู้สนใจ ได้แก่ หลักสูตรพัฒนากสิกรรมธรรมชาติสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง การทำกสิกรรมธรรมชาติ การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ และเทคนิคการผลิต ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพและ ฝึกปฏิบัติ “คนมีน้ำยา” 2.มีอาคารฝึกอบรมจำนวน 1 หลังสามารถรองรับผู้เข้าอบรมได้ประมาณ 200 คน แบ่งเป็นบ้านพักชาย จำนวน 1 หลัง รองรับผู้เข้าอบรม 120 คนบ้านพักหญิง จำนวน 1 หลัง รองรับผู้เข้าอบรม 80 คนมีโรงอาหาร จำนวน 1 หลัง ฐานการฝึกปฏิบัติจำนวน 1 หลัง มีห้องน้า จำนวน 20 ห้อง มีฐานการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับกิจกรรมตามหลักสูตร 1 | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
45 | ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนำควาย | 107/1 หมู่ที่12 ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง 92190 ผู้ประสานงาน นางจำเนียร กาญจนพรหม โทร. 075 - 276357 โทร. 087 - 72754050 | 1. เป็นแหล่งเรียนรู้การเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ การเลี้ยงสัตว์ (ไก่ หมู วัว) และด้านการประมง โดยมีเป้าหมายเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน ให้สมาชิกในครอบครัว รู้จักการทำงานและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เสริมสร้างครอบครัวให้มีความสุข เกิดความสามัคคีและเอื้ออาทร เป็นแบบอย่างให้กับชุมชนใกล้เคียง ในการใช้ชีวิตแบบพึ่งพาตนเอง โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2. ศูนย์มีอาคารฝึกอบรม และที่พักที่สามารถรองรับผู้เข้ารับการอบรมได้รุ่นละ 50 คน มีสถานที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้และฐานเรียนรู้ที่เหมาะสมตามหลักสูตร และมีอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนที่เพียงพอ | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
46 | ศูนย์เรียนรู้คุณธรรมเพื่อเศรษฐกิจพอเพียงบ้านเขากลม | เลขที่ 63 หมู่7 บ้านเขากลม ตำบลหนองทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ 81000 ผู้ประสานงาน นายสงวน มงคลศรีพันเลิศ โทร. 089 - 5906738 | เป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ การผลิตอาหารสัตว์ (โดยใช้ใบทางปาล์ม) การเลี้ยงวัว แพะ แกะครบวงจรโดยไม่กินหญ้า การเลี้ยงเป็ด-ไก่คอล่อน การทำไข่เค็ม สมุนไพร การทำเตาแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์ การเลี้ยงปลาบ่อสามด้าน การทำอาหารปลา การทำปลาเค็มอบดิน การทำจุลินทรีย์หน่อกล้วย การเลี้ยงจุลินทรีย์การทำปุ๋ยหมัก การปลูกพืชผสมผสานต่างระดับไร้สารพิษ 1 ไร่ แก้จน การเพาะถั่วงอก การเพาะเห็ดอบโอ่ง การทำฮอร์โมนเห็ด การทำน้ำมันไบโอดีเซล การใช้สมุนไพรรักษาโรค การทำน้ำส้มควันไม้ การทำน้ำยาล้างจาน การปลูกพืชตีกลับ การปลูกผักไฮโซการทำบัญชีครัวเรือน เป็นต้น | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
47 | ศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้านบ้านโงกน้ำ | 16 หมู่ 8 บ้านโงกน้ำ ตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 93110 ผู้ประสานงาน นายสุขุม ทองขุนดำ โทร. 074 -631616 โทร. 089 - 2570859 | 1. แนวคิดการจัดตั้งศูนย์เกิดจาก ชุมชนมีกระบวนการเรียนรู้ให้ทุกคนรู้จักตนเอง รู้จักผลกระทบสภาพแวดล้อมภายนอก รู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสมสามารถพึ่งพาตนเอง และก่อให้เกิดกระบวนการแก้ไขปัญหา โดยเริ่มจากการสร้างความรู้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเกษตรกรในการพัฒนาการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงในพื้นที่ รวมทั้งมีภูมิคุ้มกัน เพื่อลดความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงและบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างเหมาะสม มีแผนแม่บทชุมชนเป็นที่ยอมรับและสามารถขยายผลไปยังหน่วยงานต่างๆ ได้ ทั้งแนวคิดและแนวทางปฏิบัติสำหรับการขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน 2. การก่อตั้งศูนย์ ฯ มีเป้าหมายสำคัญ คือ การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปดำเนินการพัฒนาการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพพึ่งตนเองได้สร้างความมั่นคงให้แก่ ครอบครัวและชุมชน โดยมีหลักสูตรที่น่าสนใจดังนี้ 1) หลักสูตร “การทำการเกษตรและการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง” สำหรับเกษตรกรทั่วไปประกอบด้วย แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงการรวมกลุ่ม การเลี้ยงปลาปลูกผักกินเอง การทำปลาดุกร้า การทำบัญชีครัวเรือน การทำปุ๋ยน้ำ การทำน้ำส้มควันไม้จากการเผาถ่าน สมุนไพรพื้นบ้าน การเลี้ยงกบคอนโด การทำการเกษตรแบบยั่งยืน การทำการเกษตรตามทฤษฎีใหม่ การขยายพันธุ์พืช และการทำสบู่เหลว 2) หลักสูตร “การดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบมืออาชีพ” สำหรับเกษตรกรอาสา ประกอบด้วย การดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การทำปุ๋ยชีวภาพน้ำ 7 สูตร การทำปุ๋ยชีวภาพแห้ง การทำบ่อแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์ การทำบัญชีครัวเรือน การเขียนแผนการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง เทคนิคการเป็นผู้นำ และวิทยากรเพื่อเผยแพร่เศรษฐกิจพอเพียง | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
48 | ศูนย์เรียนรู้การเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดสตูล | 93 หมู่ที่1 ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล 91150 ผู้ประสานงาน นายโฉม คงสุวรรณ โทร. 086 - 2854004 | 1. แนวคิดจากจัดตั้งศูนย์ฯ เกิดจากแรงบันดาลใจที่ต้องการให้ชุมชนเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ จึงทำให้เกิดการรวมตัวเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีการทำเกษตรอินทรีย์และผลผลิตปลอดภัยจากสารพิษ การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การทำไร่นาสวนผสม การปลูกผักปลอดสารพิษ การเพาะเห็ด การเลี้ยงปลาดุก การถนอมอาหาร การทำขนมพื้นบ้าน การทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม การนวดแผนไทย การทำ ดอกไม้ประดิษฐ์ การอนุรักษ์ป่าชายเลน การทำน้ำตาลมะพร้าว ยาสมุนไพรไทย จุลินทรีย์รักษาหน้ายาง และการทำบัญชีครัวเรือน 2. ศูนย์ฯมีโรงฝึกอบรมสามารถรองรับผู้เข้าร่วมอบรมได้ประมาณ 30 คน และมีที่พักให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมแบบโฮมสเตย์บริเวณใกล้เคียง และมีเต็นท์ที่พักจำนวน 10 หลัง ที่สามารถรองรับผู้รับการฝึกอบรมได้หลังละ 3 – 5 คน มีห้องน้ำ จำนวน 6 ห้อง รวมทั้งมีฐานการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับกิจกรรมการฝึกอบรม | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
49 | ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลยุโป | โรงเรียนบ้านยุโป (รุ่งวิทยา) หมู่ที่ 1 ตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000 ผู้ประสานงาน นายพินัย แก้วจันทร์ โทร. 073 – 270055 โทร. 081 - 3885161 | 1. แนวคิดการจัดตั้งศูนย์ฯ เกิดจากความคิดของคนในชุมชนร่วมกัน ที่ต้องการให้ชุมชนมีศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลข่าวสาร และความรู้ที่จะนำไปสู่การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สำหรับประชาชนในชุมชน เป็นแหล่งเสริมสร้างโอกาสในการเรียนรู้การถ่ายทอดความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ การสืบทอดภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ค่านิยมและเอกลักษณ์ของชุมชนเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ก่อให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ และมุ่งการพัฒนาแบบพึ่งตนเอง 2. ศูนย์แห่งนี้ เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของประชาชน ที่ดำเนินการโดยประชาชน และเพื่อประชาชน ก่อให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน มีการดำรงชีวิตโดยยึดเศรษฐกิจพอเพียง การทำบัญชีครัวเรือน การทำของใช้ในครัวเรือนจากสมุนไพร เช่น ทำน้ำยาอเนกประสงค์ ทำสบู่จากเปลือกมังคุด การทำน้ำมันมะพร้าว พลังงานทดแทน การทำเตาเผาถ่านน้ำส้มควันไม้ ก๊าซชีวภาพในครัวเรือน ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ การทำไร่นาสวนผสม การทำปุ๋ยหมักน้ำและแห้ง สารปราบศัตรูพืชจากสมุนไพร และการปฏิบัติศาสนกิจ 3. ศูนย์มีความพร้อมในการจัดการฝึกอบรม และมีการจัดสถานที่พักสำหรับ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมตามบ้านเรือนบริเวณใกล้เคียงแบบโฮมสเตย์ สามารถรองรับผู้เข้าอบรมได้รุ่นละ 40 คน มีโรงครัว มีฐานการเรียนรู้ที่เหมาะสม และสถานที่จัดกิจกรรมภาคการปฏิบัติ | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
50 | ศูนย์เรียนรู้การดำรงชีวิตเกษตรพอเพียง อำเภอชุมแสง | ศูนย์เรียนรู้การดำรงชีวิตเกษตรพอเพียง ตำบลหนองกระเจา อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ 60120 ผู้ประสานงาน นายสุพจน์ โคมณี โทร. 081 - 0410911 | เป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีฐานการเรียนรู้ ประกอบด้วย 12 ฐาน ดังนี้ 1) ฐานการปรับแนวคิดและพฤติกรรมสู่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) ฐานการปลูกผักปลอดจากสารพิษ 3) ฐานธรรมชาติฟื้นฟูธรรมชาติ 4) ฐานการทำแก๊สชีวภาพ 5) ฐานการห่มดิน 6) ฐานเล่นขี้ ปลดหนี้ หายจน 7) ฐานโรงปุ๋ยมีชีวิต ปลาผลิตปุ๋ย 8) ฐานการปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง 9) ฐานการเลี้ยงปลาตามวิถีธรรมชาติ ผลิตอาหารปลา 10) ฐานพืชสมุนไพร 11) ฐานการจัดทำบัญชีครัวเรือน 12) ฐานพืชพลังงานทดแทน | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
51 | ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติเพลิน ชุมพรคาบาน่า รีสอร์ต | ชุมพรคาบาน่ารีสอร์ท 69 หมู่ที่ 8 ตำบลสะพลี อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร 86230 ผู้ประสานงาน นายวริสร รักษ์พันธุ์ โทร. 077 – 560245 – 7 โทร. 081 – 9703779 โทร. 081 - 895-4524 | . ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติเพลิน จัดตั้งในพื้นที่บริเวณ “ชุมพรคาบาน่ารีสอร์ท” ประมาณ 15 ไร่ ที่มาของคำว่า “สวนเพลิน” มาจาก Play + Learn=Plearn คือ การเรียนรู้และสนุกไปด้วยกันกับกิจกรรมของหลักสูตรการฝึกอบรมเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ศูนย์ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฏีใหม่ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาตั้งแต่ ปี 2550 2. จุดเด่นของศูนย์ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ การจัดการท่องเที่ยวชุมชน การดูแลสุขภาพด้วยธรรมชาติและสมุนไพร การพึ่งตนเองด้วยการผลิตอาหาร สินค้าอุปโภค ปุ๋ยอินทรีย์ พลังงานทดแทน และส่งเสริมการค้าขายที่มี คุณธรรม โดยการสนับสนุนให้พนักงานและเกษตรกรเครือข่าย ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพปลอดจากสารเคมี และนำผลผลิตมาจำหน่ายให้กับรีสอร์ท 3. กิจกรรมที่น่าสนใจภายในศูนย์ อาทิ 1) เส้นทางข้าว 2) ภาคการผลิต (อาหาร) 3) การทำขนมปัง 4) การกำจัดกากอาหาร 5) การดำนาเกี่ยวข้าว 6) กิจกรรมการเลี้ยงปลา 7) ฝายกั้นน้ำ 8) โรงแรมนา 9) สวนเพลิน 10) ไตธรรมชาติ (แปลงพืชที่ใช้บำบัดน้ำ) 11) การปลูกพืชสวนครัว 12) บ้านอนุรักษ์ธรรมชาติและพลังงาน 13) เกษตร 4 ชั้น 14) ป่า 5 ชั้น 15) การสีข้าว 16) การปลูกพืชด้วยการห่มดิน 17) บ้านเอนไซม์ เป็นต้น | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
52 | ศูนย์การเรียนรู้เกษตรประณีต | 138 บ้านโนนรัง หมู่ 6 ตำบลตลาดไทร อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา 30270 ผู้ประสานงาน นายจันทร์ที ประทุมภา | เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ใช้อบรมให้กับสำนักงานเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในจำนวน 151 ศูนย์การเรียนรู้ทั่วประเทศ โดยอบรมให้แก่เกษตรกร ในเรื่อง เกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึก รู้จักพึ่งพาตนเองและพึ่งพากันเองในชุมชน มีการให้ความรู้ด้านต่างๆ เช่น การขยายพันธุ์พืช เพาะเมล็ด ติดตา ทาบกิ่งเสียบยอด การทำปุ๋ยชีวภาพ การขยายเพาะพันธุ์ปลา การสอนวิธีทำหัวอาหารเลี้ยงปลา โดยใช้วัตถุดิบจากการเกษตร เช่น ถั่ว มัน ข้าวโพด เป็นต้น | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
53 | ศูนย์เรียนรู้ การพัฒนาที่ดิน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง นาชุมเห็ด | 6 หมู่ 2 ตำบลนาชุมเห็ด อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง 92140 ผู้ประสานงาน นายไม ไกรสุทธิ์ โทร. ๐๗๕ - ๒๐๓๒๗๖ โทร. ๐๘๔ - ๘๔๓๙๒๙๐ | ศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ เริ่มต้นจาก นายไม ไกรสุทธิ์ เกษตรกรที่ได้ไปซื้อที่ดิน 5 ไร่ ที่มีสภาพไม่สมบูรณ์ หรือ เหมาะสมในการเกษตร เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ได้รับภัยจากน้ำท่วม ทำให้มีเศษตะกอน เศษไม้ ก้อนหิน จนไม่สามารถทำนาได้ แต่นายไม ไกรสุทธิ์ ก็ไม่ย่อท้อ คิดค้นหาวิธีแก้ไขที่ดิน ด้วยการไปขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลนาชุมเห็ดและสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดตรัง จนในที่สุดได้ตัดสินใจไปสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ “หมอดินอาสา” เพราะได้นำไปสู่การค้นคว้า หาความรู้เพิ่มเติม เมื่อมีช่องทาง จึงมีการวางแผนผังการจัดการฟาร์ม ด้วยการนำพืชที่ตนชอบมาเริ่มทดลองปลูก และพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้พื้นที่กลับกลายมาอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชนานาพันธุ์ ทั้งไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ประดับ ผักพื้นบ้าน และบ่อเลี้ยงปลา ต่อมาได้มีการพัฒนาแปลงไร่นาสวนผสมเป็นศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ดินตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นจุดถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร เรื่อง “ไร่นาสวนผสม” มีฐานเรียนรู้ต่างๆ ภายในสวนรวมทั้งสิ้น 13 ฐานเรียนรู้ ซึ่งเป็นฐานสำหรับศึกษาในเรื่องการบำรุงดิน การทำปุ๋ยต่างๆ การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก การจัดระบบน้ำร่วมกับการใช้ปุ๋ย เป็นต้น | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
54 | ศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาน จังหวัดนราธิวาส | 126 หมู่ที่ 9 บ้านโพธิ์ทอง ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ผู้ประสานงาน คุณวรพงษ์ ขุนพรม โทร. 086 - 2902999 | 1. เป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อการเกษตรแบบผสมผสาน ทั้งด้านพืช ประมง และ ปศุสัตว์ โดยเป็นแหล่งองค์ความรู้ให้กับชุมชนโดยเน้นหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ การผลิตปุ๋ยเพื่อใช้ในครัวเรือน การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า การทำน้ำส้มควันไม้และการเลี้ยงโคเนื้อและโคขุน การจัดทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำ และสารไล่แมลง การเลี้ยงปลาในบ่อดิน และกระชัง การทำน้ำยาเอนกประสงค์เพื่อใช้ในครัวเรือน การจัดทำบัญชีครัวเรือน เป็นต้น 2. ศูนย์มีอาคารรองรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ ประมาณ 40-50 คน มีโรงครัว ห้องอาหาร และห้องน้ำ มีฐานการเรียนรู้สถานที่ศึกษาดูงาน และแปลงสาธิตเพื่อฝึกปฏิบัติ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการจัดฝึกอบรม | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
55 | ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อชุมชนคนอยู่กับป่า | 132 หมู่ 6 ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร 86180 ผู้ประสานงาน นายชัยรัตน์ แว่นแก้ว โทร. 077 - 520055 โทร. 081 - 8941973 | 1. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อชุมชนคนอยู่กับป่า ก่อตั้งเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2549 โดยได้รับการสนับสนุน งบประมาณจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพืชพันธุ์ และเครือข่ายมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ศูนย์นี้ ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฏีใหม่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตั้งแต่ ปี 2551 2. จุดเด่นของศูนย์นี้ คือ มีกิจกรรมด้านเกษตรอินทรีย์และเกษตร 4 ชั้น การศึกษาระบบนิเวศต้นน้ำ การจัดการชุมชนให้อยู่ร่วมกับป่า โครงการคนอยู่ –ป่ายัง การฝึกอบรมวิทยากรแกนนำ และวิทยากรกระบวนการวิถีเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อชุมชนคนอยู่กับป่า 3. ทางศูนย์มีความพร้อมในการจัดฝึกอบรมให้แก่ผู้สนใจ โดยมี 5 หลักสูตร ได้แก่ การทำบัญชีครัวเรือน การจัดการดิน การจัดการน้ำ การจัดการป่า และการจัดการพลังงาน โดยทางศูนย์มีอาคาร 2 หลัง รองรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ 200 คน มีที่พักแยกชาย-หญิง โรงอาหารจำนวน 1 หลัง ห้องน้ำจำนวน 12 ห้อง มีโสตทัศนูปกรณ์และวัสดุที่เหมาะสม และมีฐานการเรียนรู้ ที่เหมาะสมตามหลักสูตร | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
56 | ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านทาป่าเปา | 48 หมู่ที่ 6 บ้านทาป่าเปา ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน 51140 ผู้ประสานงาน นายไพบูลย์ จำหงษ์ โทร. 053 006222 โทร. 089 2652714 | 1. เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดำเนินงานภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย อาทิ 1.1 ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น กิจกรรมการอนุรักษ์ป่าไม้ในพื้นที่ 13,000 ไร่ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สัมผัสกับวิถีชีวิตชนบทและประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้าน การทำฝายชะลอน้ำตามแนวพระราชดำริ การศึกษาดูงานป่าชุมชนห้วยทรายขาว 1.2 ด้านการการทำการเกษตรแบบผสมผสาน(ปศุสัตว์และพืช) เช่น การฝึกปฏิบัติการเพาะเห็ดนางฟ้า การขยายจุลินทรีย์ การทำปุ๋ยหมัก การทำฮอร์โมนผลไม้ การทำน้ำส้มควันไม้ การปลูกผักสวนครัวในบริเวณบ้าน การเพาะชำกล้าไม้-ผัก การทำสารไล่แมลง การทำน้ำยาเอนกประสงค์ 1.3 ด้านการบริหารจัดการออมในชุมชน เช่น กิจกรรมกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ในชุมชน การทำบัญชีครัวเรือน เป็นต้น 2.ศูนย์ฯ มีความพร้อมสำหรับการจัดฝึกอบรม มีอาคารรองรับผู้รับการอบรมประมาณ 60 คน มีสถานที่พักแบบโฮมสเตย์ที่ได้มาตรฐาน มีห้องน้ำที่เพียงพอ มีฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร มีการศึกษาดูงานภายในศูนย์ที่เป็นเส้นทางดูงานป่าชุมชนห้วยทรายขาว และการเดินป่าศึกษาธรรมชาติสมุนไพร | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
57 | ศูนย์เรียนรู้ คุ้มตาหนุ่ย | 40/12 หมู่ 2 ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 ผู้ประสานงาน นางรุ่งไพลิน รอดบุญ โทร. 087 - 2833084 | 1. เป็นแหล่งเรียนรู้โดยมีแนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีฐานการเรียนรู้ที่น่าสนใจ อาทิ การจัดการสวนผสม การปลูกพืชบำนาญชีวิต การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร การดูแลสุขภาพแบบวิถีชาวบ้าน กองทุนพันธุ์ไม้สวัสดิการ และบำนาญชีวิต การจัดทำบัญชีครัวเรือน และการจัดทำแผนชีวิต เป็นต้น 2. ศูนย์มีความพร้อมในการจัดการฝึกอบรม มีที่พักรองรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมประมาณ 70 คน ห้องน้ำ จำนวน 17 ห้อง โรงอาหารจำนวน 1 หลัง อาคารฝึกอบรมจำนวน 1 หลัง | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
58 | ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (ค่ายสิรินธร) | ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (ค่ายสิรินธร) ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี 94160 | 1.เป็นสถานที่ศึกษาดูงานด้านเกษตรกรรม ปศุสัตว์ ประมง และสิ่งแวดล้อม โดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงได้ช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เกิดความสงบสุข และมีความความมั่นคงในชีวิตโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจพอเพียง 2.ปัจจุบัน กองทัพภาคที่ ๔ / กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ได้ขับเคลื่อนและดำเนินการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่ ๑๔ จังหวัดภาคใต้ที่รับผิดชอบได้ส่งผลประโยชน์ต่อประชาชนอย่างกว้างขวาง ในหลายด้าน อาทิ ความมั่นคงตามแนวพระราชดำริ โครงการราษฎรอาสารักษาหมู่บ้าน (อรบ.) โครงการชุมชนสัมพันธ์รอบวัง พัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฟาร์มตัวอย่าง ส่งเสริมอาชีพ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการพลิกฟื้นผืนป่าด้วยพระบารมี โครงการป้องกันไฟป่าด้วยพระบารมี โครงการราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า(รสทป.) โครงการสร้างฝายชะลอน้ำ (ฝายในหลวง) โครงการปลูกหญ้าแฝก เป็นต้น | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
59 | ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านชุมชน แม่ระวาน | 83 หมู่5 บ้านแม่ระวาน ตำบลยกกระบัตร อำเภอสามเงา จังหวัดตาก 63130 ผู้ประสานงาน นายพงศ์สิริ นนทะชัย โทร. 085 - 7310830 โทร. 055 - 597320 | เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์และปรับปรุงบำรุงดิน การเลี้ยงโคและการผลิตพืชอาหารสัตว์ การอนุรักษ์ ต้นน้ำ และป่าไม้ การปลูกไม้ผล การทำไร่ผสมผสาน การทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำและการจัดการลดต้นทุนทางการเกษตร | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
60 | สถาบันการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์สุพรรณบุรี | 52 หมู่ที่ 6 ตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี 72140 ผู้ประสานงาน 1. นายทองเหมาะ แจ่มแจ้ง โทร. 087 - 0251240 2. นางทวี แจ่มแจ้ง โทร. 081 - 0106245 | เป็นแหล่งเรียนรู้โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีหลักสูตรที่น่าสนใจ ดังนี้ 1)เศรษฐกิจพอเพียง 1 ไร่แก้จน การเกษตรแบบพอเพียง 2) การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ TM ทองเหมาะ (แห้ง/น้ำ) 3) การทำปุ๋ยชีวภาพ, ฮอร์โมนผลไม้, ฮอร์โมนไข่, ฮอร์โมนรกหมู 4) การทำบัญชีครัวเรือน 5) การทำน้ำมันไบโอดีเซล / จุลทรีย์ไบโอดีเซล 6) การคัดพันธุ์ข้าว และการผสมพันธ์ข้าว 7) การทำไร่น่าสวนผสม, การทำนาอินทรีย์ 8) การทำแปลงผักอินทรีย์ 9) การเผาถ่านได้น้ำส้มควันไม้ 10) การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากถ่านไม้ไผ่ 11) การทำยาดมสมุนไพร, การทำน้ำยาสูตรต่างๆ 12) การทำปาทอ่งโก๋, น้ำเต้าหู้, ไข่เค็ม 13) การประดิษฐ์เครื่องมือทางการเกษตร เป็นต้น 14) ภาวะโลกร้อน 15) ธรรมะกับการเกษตรอินทรีย์ 16) อื่นๆ | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |