Loading...

ศูนย์ข้อมูลการส่งเสริมคุณธรรม

แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและวีถีวัฒนธรรมไทย

แสดง 21 ถึง 40 จาก 146 ผลลัพธ์
#ชื่อแหล่งเรียนรู้สถานที่ตั้ง/ผู้ประสานงานลักษณะกิจกรรมที่ดำเนินการหน่วยงานสนับสนุน
21โรงเรียนน้ำเกลี้ยงวิทยา ตำบลน้ำเกลี้ยง อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ 33130 ผู้ประสานงาน นายสมพร อาษา โทร 089 – 8447209 โรงเรียนน้ำเกลี้ยงวิทยาเป็นโรงเรียนที่น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางดำเนินงาน โดยสร้างหลักสูตรการเรียนรู้ “วิชาเศรษฐกิจพอเพียง” บ่มเพาะความดีควบคู่ไปกับการฝึกหัดทักษะชีวิตให้กับเด็กนักเรียน ซึ่งประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ภายใต้เงื่อนไขของการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยความรู้และคุณธรรม ปัจจุบันโรงเรียนน้ำเกลี้ยงเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านคุณธรรม จริยธรรม มีเครือข่ายต่างๆ ทั้งจากโรงเรียนและชุมชนมาเรียนรู้ดูงานมากมาย นับเป็น แรงหนึ่งในการสานต่อพระราชปณิธาน “ความพอเพียง” และหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อนำมาซึ่งประโยชน์สุขของสังคมต่อไป กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
22กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลคลองตัน กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลคลองตัน ตำบลคลองตัน อำเภอบ้านแผ้ว จังหวัดสมุทรสาคร 74120 ผู้ประสานงาน นางสุรนุช บุญจันทร์ โทร 092 - 8863693 1. กองทุนสวัสดิการชาวบ้านตำบลคลองตัน ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2549 โดยการเห็นพ้องต้องกันของคนในชุมชน ที่ต้องการจะนำพาชุมชนไปสู่การช่วยเหลือเกื้อกูลกันของคนในชุมชนทุกด้านให้มีความอยู่เย็น เป็นสุข โดยกองทุนนี้ ให้การดูแลตั้งแต่ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย การศึกษา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการสร้างรายได้ให้คนในชุมชนด้วย โดยมีการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปรับใช้ ไปพร้อมๆกัน 2.ด้านการบริหารจัดการ กองทุนนี้ มีการใช้เครื่องมือที่หลากหลายในการทำความเข้าใจในโครงการต่างๆ ร่วมกัน เช่น การจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสุข การประสานผ่านแกนนำที่เป็นผู้นำท้องถิ่น ผู้นำทางธรรมชาติ การชี้แจงผ่าน หอกระจายข่าวของหมู่บ้าน การประชาสัมพันธ์ผ่านเวทีประชาคม รวมทั้งมี การแบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบชัดเจน มีการจัดทำบัญชีแยกประเภท สรุปรายรับ – รายจ่าย ประจำเดือน และชี้แจงให้สมาชิกทราบด้วยความโปร่งใส 3. จุดเด่นที่สำคัญของกองทุน คือ การร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้าน การทำงานร่วมกับหน่วยงานภาคีต่างๆ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลคลองตัน มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ วัด โรงเรียน ฯลฯ จึงส่งผลให้ ชุมชนคลองตัน มีความเข้มแข็งและพัฒนาเพิ่มขึ้นตามลำดับ กระทรวงวัฒนธรรมโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
23ศูนย์การเรียนรู้ ภูมิปัญญาไทย 224 หมู่ 1 ตำบลลาดกระทิง อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา 24160 ผู้ประสานงาน นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับวนเกษตรกับการพึ่งตนเองอย่างยังยืน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เนื้อหาประกอบด้วยการเข้าใจปัญหาและเข้าใจหลักคิดของเศรษฐกิจพอเพียงธรรมชาติ ของสรรพสิ่งธรรมชาติ ของมนุษย์ และสรรพสิ่งในวนเกษตร และความรู้ เกี่ยวกับพืชพันธุ์ ที่ เป็นประโยชน์ กับชีวิตและสิ่งแวดล้อมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
24ศูนย์เรียนรู้การดำรงชีวิตเกษตรพอเพียง บ้านหนองข่อย เลขที่ 9 หมู่ที่ 6 บ้านหนองข่าย ตำบลหนองกระเจา อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ 60120 ผู้ประสานงาน นายสุพจน์ โคมณี โทร 081 - 0410911 เป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีหลักสูตรต่างๆ ให้ผู้สนใจ ได้ศึกษา เรียนรู้ อาทิ 1) ฐานการปรับแนวคิดและพฤติกรรมสู่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) ฐานการปลูกผักปลอดจากสารพิษ 3) ฐานธรรมชาติฟื้นฟูธรรมชาติ 4) ฐานการทำแก๊สชีวภาพ 5) ฐานการห่มดิน 6) ฐานโรงปุ๋ยมีชีวิต ปลาผลิตปุ๋ย 7) ฐานการปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง 8) ฐานการเลี้ยงปลาตามวิถีธรรมชาติ ผลิตอาหารปลา 9) ฐานพืชสมุนไพร 10) ฐานพืชพลังงานทดแทน เป็นต้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
25ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาไทยปิยะชนก 61 หมู่ 9 ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000 www. Piyachanok .com [email protected]เป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้ด้านการพัฒนาชุมชนในระดับฐานราก “อยู่ดี มีสุข” การสร้างความเข้มแข็งชุมชนด้วยการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับ ภูมิปัญญาไทยของคนยุคปัจจุบันพัฒนาสู่ภูมิปัญญาสากล จุดเด่น 1. เป็นแหล่งศึกษาดูงานสำหรับการพัฒนาบุคลากรในระดับฐานรากที่มีคุณภาพ โดยนำเสนอในรูปแบบมิติของการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อสังคม 2. การนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาของสังคมในยุคปัจจุบัน โดยใช้ทุนทางสังคม การพึ่งพาตนเอง เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ยั่งยืน 3. การนำเสนอแนวทางการดำรงชีวิตที่สมดุล ยั่งยืน พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ด้วยกรรมวิธีที่พอประมาณมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันให้แก่สังคม ดำเนินการด้วยความรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง ใช้หลักศีลธรรมของความเพียรพยายาม อดทน ซื่อสัตย์ ค้ำจุนการดำเนินงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
26ศูนย์เรียนรู้ มูลนิธิข้าวขวัญ 13/1 หมู่ 3 ถนน เทศบาลท่าเสด็จ 1 ซอย 6 ตำบลสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี 72230 โทร. 035 – 597193 มูลนิธิข้าวขวัญเป็นองค์กรพัฒนาเอกชน ที่ดำเนินงานด้านการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรที่เหมาะสมกับท้องถิ่น พัฒนาพันธุกรรมข้าว และพืชพื้นบ้าน วิจัยและพัฒนาผลกระทบของสารเคมีทางการเกษตร ตลอดจนค้นหาทางเลือกร่วมกับเกษตรกรในการทำเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีให้เกษตรกรและชุมชน มีการเรียนรู้จากความรู้ภายนอก และการฟื้นฟูความรู้ดั้งเดิมมาจัดการอย่างบูรณาการเพื่อให้เกิดระบบการเกษตรที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ และฟื้นฟูธรรมชาติ สามารถลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอก และสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น สานสร้างเครือข่ายของผู้ผลิต และผู้บริโภคที่เห็นคุณค่า และความสำคัญกับเรื่องของวิถีชีวิต สังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม อันเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่าง การพัฒนาระบบเกษตรกรรม กับการพัฒนาวิถีชีวิตอย่างเป็นสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
27สถาบันการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์สุพรรณบุรี 52 หมู่ที่ 6 ตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี 72140 โทร. 035 455 372 จุดเริ่มต้นของสถาบันการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์สุพรรณบุรี ( สกส.) มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ เกิดจากเดิมที่เกษตรกรทำการเกษตรโดยใช้สารพิษสารเคมี จนทำให้เกิดการเจ็บป่วย เกิดหนี้สินมากมาย ทำให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำการเกษตร โดยเฉพาะนายทองเหมาะ แจ่มแจ้งได้เรียนรู้การทำการเกษตรอินทรีย์จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริมีการทดลองเรียนรู้ในการทำการเกษตรโดยใช้แปลงนา 41ไร่ ของตนเองเป็นแปลงทดลอง เมื่อประสบความสำเร็จจึงถ่ายทอดความรู้ให้เพื่อนเกษตรกร และเปิดเป็นศูนย์การเรียนเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอ ศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
28ศูนย์เรียนรู้ชุมชนปลักไม้ลาย 54 หมู่ที่ 10 บ้านหนองไข่กา ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140 โทร. 081 - 3845352 ความเป็นมาของศูนย์ฯ เกิดจากการรวมกลุ่มผู้ปลูกผักปลอดสารพิษ ในปี 2540 โดยการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และสำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม ผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษตราปลักไม้ลาย จึงเป็นจุดเรียนรู้และถ่ายทอดการทำเกษตรอินทรีย์ตั้งแต่นั้นมา จนกระทั่งในปี 2550 ได้จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน(เกษตรอินทรีย์) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาสังคมจังหวัดนครปฐมและสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครปฐม จุดเด่นของศูนย์ การเกษตรแบบผสมผสานโดยเน้นเกษตรอินทรีย์ ใช้สมุนไพรและชีวภาพทดแทนการใช้สารเคมีเพื่อลดต้นทุนการผลิต และสร้างความสมดุลทางธรรมชาติ ใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมผสมผสานกับเทคโนโลยีในการควบคุมดูแลผลิตผักปลอดสารพิษตราปลักไม้ลาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
29ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านบางพลับ9/3 หมู่ 4 ตำบลบางพรม อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม 75120เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ที่ถ่ายทอดความรู้ทางด้านการเกษตรแก่ผู้สนใจทั้ง ชาวไทยและชาวต่างชาติ ในด้านความรู้ขั้นพื้นฐานของการทำเกษตรกรรม การทำปุ๋ยหมักและน้ำสกัดชีวภาพ การขยายพันธุ์พืช การควบคุมวัชพืช การดูแลเก็บเกี่ยวผลผลิตรวมถึงด้านการตลาด ในรูปแบบของการบรรยาย การนำชมสวน การสาธิต และฝึกปฏิบัติจริง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
30ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ ศิลปาชีพภาคกลาง กองพลทหารราบที่ 11 ตำบลคลองนา อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000 โทร. 038 – 824427 1. เป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แหล่งฝึกอาชีพ และแหล่งท่องเที่ยว สำหรับเยาวชน เกษตรกร ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป 2. ภายในศูนย์การเรียนรู้ฯ แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนเศรษฐกิจพอเพียง 2) ส่วนศิลปาชีพ 3) ส่วนอื่น ๆ เช่น อาคารจำหน่ายผลิตภัณฑ์โอท็อป อาคารประชาสัมพันธ์ ร้านอาหาร พื้นที่จัดค่ายพักแรม พื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในรูปแบบโฮมสเตย์ เป็นต้น 3. กิจกรรมที่น่าสนใจภายในศูนย์ฯ อาทิ 1) การอบรมให้ความรู้ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสาธิตการทำเกษตรแบบทฤษฎีใหม่ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การทำนาข้าว การทำสวน การทำประมง การทำปุ๋ย การปลูกหญ้าแฝก การทำอิฐบล็อก การเผาถ่าน การทำถ่านอัดแท่ง เป็นต้น 2) การจัดค่ายคุณธรรมนำชีวิตตามแนวทางเศรฐกิจพอเพียง การจัดค่ายพักแรมลูกเสือ – เนตรนารี 3) การฝึกอบรมหลักสูตรภาวะผู้นำสำหรับพนักงาน การฝึกอบรมอาสาสมัครป้องกันฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ฯลฯ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
31ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน จังหวัดนครนายก133 หมู่ 6 ตําบลเกาะโพธิ์ อําเภอปากพลี จังหวัดนครนายก 26130ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนก่อตั้งบนพื้นที่ สปก. ในเนื้อที่ 28 ไร่ เพื่อทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยแบ่งพื้นที่เป็น 3 ส่วน คือ พื้นที่ปลูกบ้าน ขุดสระเก็บน้ำ ขุดบ่อเลี้ยงปลาเลี้ยงกบ และปลูกไม้ผลพืชผักบน คันบ่อ จากความสำเร็จ ที่นายวิรัตน์ จีนลักษณ์ ได้เรียนรู้ฯ และปฏิบัติจริง จึงทำให้ศูนย์เรียนรู้เป็นที่รู้จัก ประกอบกับการได้รับการรับรองการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัยจากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดปทุมธานี ทำให้มีคนรู้จักเพิ่มมากขึ้น จึงจัดให้เป็นสถานที่อบรมให้แก่เกษตรกรและผู้ที่สนใจอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ศูนย์ฯ ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฏีใหม่โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาตั้งแต่ปี 2551กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
32ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคอยรุตตั๊กวา (ลำไทร) 34/3 หมู่ 5 แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพ 10530 โทร. 02 - 5432126 โทร. 087 - 1450557 โทร. 083 - 8063456ปี 2537 “ชุมชนคอยรุตตั๊กวา” ได้จดทะเบียนขึ้นเป็นชุมชนตามระเบียบของ กรุงเทพมหานคร โดยใช้ชื่อว่า “ชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา” โดยกรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการจัดตั้ง “โรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริ” แห่งแรก ณ ชุมชนแห่งนี้ โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก นายบุญเหลือ สมานตระกูล และญาติ ให้ใช้ที่ดินจำนวน ๑๔ ไร่เศษ สำหรับใช้เป็นโรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยมีการปรับพื้นที่โดยแบ่ง เป็น 4 ส่วน คือ ปลูกข้าว ร้อยละ ๓๐ พืชไร่ พืชสวน ร้อยละ ๓๐ ขุดสระที่ไว้ใช้บริโภค การเกษตร เลี้ยงปลา ร้อยละ ๓๐ ที่อยู่อาศัย ร้อยละ ๑๐ โดยปัจจุบันมีผู้สนใจเข้าศึกษาดูงานศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้อย่างต่อเนื่อง ปัจจัยแห่งความสำเร็จ เกิดจากทุน 3 ประการ 1. ทุนทางด้านสังคม คือ คนในชุมชนตั้งรกรากถิ่นฐานยาวนานมากว่า 100ปี จึงมีความผูกพันเหมือนเครือญาติ มีน้ำใจ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 2. ทุนทรัพยากรธรรมชาติ คือ คนในชุมชนใช้ประโยชน์จากผืนดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
33ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงโคกพยอม บ้านโคกพะยอม ตำบลเกาะสะบ้า อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา 90150 ผู้ประสานงาน นายโกศล จันทรจิตร โทร 091 - 4628100 ลักษณะเด่นของศูนย์ ได้แก่ การปลูกพืชผักสวนครัว พัฒนาปรับปรุงดิน การปลูกผักไร้ดิน หรือ ไฮโดรโปนิกส์และ มีฐานการเรียนรู้ให้ผู้สนใจได้ศึกษา เรียนรู้ 8 ฐาน ดังนี้ คือ 1) ฐานการเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยลาน 2) ฐานการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ 3) ฐานการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ 4) ฐานการปลูกผักแบบสวนกระแส 5)ฐานการปลูกผักแบบเอื้ออารีอยู่ที่สูง 6)ฐานการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ (การปลูกผักโดยไม่ต้องใช้ดิน) 7)ฐานการปลูกผักแบบไฮโซ (การปลูกผักแบบกลับหัว) 8)ฐานการปลูกผักแบบสายใยรัก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
34ศูนย์เรียนรู้คู่คุณธรรมเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลบ้านหาร ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 77 หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านหาร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา 90110 ผู้ประสานงาน นายภาณุ พิทักษ์เผ่า โทร. 089 - 462 4912 เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ การปลูกผักอินทรีย์ ปลอดสารพิษ รวมทั้งจัดจำหน่ายให้แก่กลุ่มผู้รักสุขภาพและผู้สนใจ การเผาถ่าน การทำน้ำส้มควันไม้ การทำแชมพู การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ การเพาะถั่วงอก การทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น การทำน้ำหมักชีวภาพ การทำน้ำยาเอนกประสงค์ เป็นต้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
35ศูนย์เรียนรู้คู่ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง บ้านพังเพา บ้านพังเพา หมู่ 1 ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา 90190 ผู้ประสานงาน นายจรัญ อรุณพันธุ์ โทร. 083 – 168 2288 เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงแบบครบวงจร ประกอบด้วย การปลูกพืช ผักสวนครัวรั้วกินได้ เลี้ยงสัตว์ เช่น เป็ด ไก่ หมูหลุม เป็นต้น ทางศูนย์เรียนรู้ให้การศึกษา และแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรกรรมยั่งยืน โดยมีหลักสูตรอบรมให้กับเกษตรที่เข้าร่วมโครงการของธนาคารเกษตรและสหกรณ์ หลักสูตรการอบรมมีจำนวน 2 วัน 1 คืน แนวคิดทำบ้านให้เป็นโรงพยาบาล โดยเน้นให้ครัวเรือนได้มีการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ เป้าหมายเพื่อให้ครัวเรือนได้รับอาหารที่ปลอดภัย แนวคิดเอาตู้เย็นออกจากบ้าน มีเป้าหมายส่งเสริมความเข้มแข็งในระดับครัวเรือน ลดการพึ่งพาอาหารจากตลาด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
36ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สวนจิตสวัสดิ์ ทุ่งเสม็ด บ้านทุ่งโพธิ์ หมู่ที่ 5 ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา 90260 โทร 091 – 640 1525 เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรกรรมที่น่าสนใจ อาทิ การปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักชีวภาพ การจัดการน้ำ ก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ การเผาถ่านได้น้ำส้มควันไม้ การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงโคขุน เป็นต้น ปัจจุบันที่แห่งนี้ได้รับการคัดเลือกให้เป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรกรรุ่นใหม่ ต้นแบบของจังหวัดสงขลา เปิดโอกาสให้เกษตรกรและผู้สนใจได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้แนวทางการทำเกษตรปลอดภัย และการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
37ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง 51/2 หมู่ 9 ตำบลไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80150 ผู้ประสานงาน นายประยงค์ รณรงค์ โทร. 081 956 0865 โทร. 081 258 9432 . ศูนย์เรียนรู้ชุมชนไม้เรียง เป็นศูนย์ที่ดำเนินการโดยได้รับความร่วมมือจากสามหน่วยงาน คือ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง ศูนย์เรียนรู้การศึกษานอกโรงเรียน และศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ในการจัดการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาอาชีพหลักและสร้างอาชีพเสริม รวมถึง การจัดทำ แผนแม่บทชุมชน แผนพัฒนายางพารา การพัฒนารูปแบบวิสาหกิจชุมชน โดยการ ศึกษาแนวทางแก้ปัญหา และ ป้องกัน เพื่อการพึ่งตนเองของชุมชนผ่านกระบวน การถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้แก่ผู้นำ ชุมชนทั่วไป . หลักสูตรการฝึกอบรม ประกอบด้วย 1) หลักสูตรการจัดทำแผนแม่บทชุมชน 2) หลักสูตรการพัฒนาอาชีพหลักและสร้างอาชีพเสริม 3)การจัดศูนย์เรียนรู้ชุมชน 4) หลักสูตรการพัฒนาองค์กร 5) หลักสูตรการวางระเบิดวิสาหกิจชุมชน (การแปลงแผนสู่การปฏิบัติ) 3. ศูนย์มีศักยภาพในการจัดการฝึกอบรม มีอาคาร ฝึกอบรม ที่สามารถรองรับผู้เข้าอบรมได้ประมาณ 100 คน มีที่พักจำนวน 1 หลัง เต็นท์ที่พัก จำนวน 50 หลัง พร้อมเครื่องนอน มีห้องน้า จำนวน10 ห้อง มีวัสดุและอุปกรณ์การฝึกอบรมที่เพียงพอ มีฐานการเรียนรู้ที่เหมาะสม รวมทั้ง มีวิทยากรซึ่งเป็นบุคลากรในพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในการทา การเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
38ศูนย์เรียนรู้มูลนิธิ ข้าวขวัญ13/1 หมู่3 ถนนเทศบาลท่าเสด็จ1 ซอย 6 ตำบลสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี 72230 โทร. 035 - 597193 เป็นศูนย์เรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้เกษตรกรและชุมชน มีการเรียนรู้ทั้งจากความรู้ภายนอก และการฟื้นฟูความรู้ดั้งเดิม ภูมิปัญญาในท้องถิ่น มาจัดการอย่างบูรณาการเพื่อให้เกิดระบบการเกษตรที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ และฟื้นฟูธรรมชาติ สามารถลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอก และสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น สานสร้างเครือข่ายของผู้ผลิต และผู้บริโภคที่เห็นคุณค่า และความสำคัญกับเรื่องของวิถีชีวิต สังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม อันเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่าง การพัฒนาระบบเกษตรกรรม กับการพัฒนาวิถีชีวิตอย่างเป็นสุข รวมถึงการพัฒนาด้านอื่นอย่างรอบด้านกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
39ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ควนโดนใน ชุมชนควนโดนใน ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล 91160 1. เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านการจัดการขยะภายในชุมชนเอง โดยดึงทุกภาคส่วนที่อยู่ในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะทั้ง 4 ประเภทในชุมชน ผ่านกิจกรรมต่างๆ อย่างมีระบบ ดังนี้ 1.1 ขยะรีไซเคิล (กระดาษ พลาสติก โลหะ อโลหะ แก้ว) ครัวเรือนในชุมชนจะคัดแยก และนำมาร่วมกิจกรรมธนาคารขยะรีไซเคิล ซึ่งจะเปิดเดือนละ 1 ครั้ง 1.2 ขยะอินทรีย์ในครัวเรือน (เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้) ครัวเรือนจะคัดแยก เพื่อไปทำน้ำหมักชีวภาพ แก๊สชีวภาพจากเศษอาหาร หรือทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ ขยะอันตราย (หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย กระป๋องสเปรย์) คณะทำงานจะประชาสัมพันธ์ให้ครัวเรือนคัดแยก และนำมาร่วมกิจกรรมขยะอันตรายแลกของใช้ หรือเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัว 1.3 ขยะทั่วไป ซึ่งได้แก่ ถุงพลาสติก ซองขนมกรุบกรอบต่างๆ จะรณรงค์ให้ชุมชนใช้ถุงผ้าจ่ายตลาด และการรณรงค์ร้านค้าในชุมชนร่วมใจลดใช้ถุงพลาสติก 2. การหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ด้วยขบวนการใฝ่หาความรู้ให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้น เช่นการจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านทำสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุ รีไซเคิล เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการหารายได้มาสู่ครอบครัว และยังเป็นการลดภาวะโลกร้อนอีกด้วย โดยได้รับ “รางวัลชนะเลิศระดับประเทศ ในโครงการประกวดชุมชนปลอดขยะ Zero Waste เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 80 ชุมชน” สร้างความภาคภูมิใจของพี่น้องชาวเทศบาลตำบลควนโดนเป็นจำนวนมากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
40ศูนย์การเรียนรู้ ร้อยหวันพันธุ์ป่า 155 หมู่ที่ 3 บ้านบางเรียง ตำบลเกาะเต่า อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง 93110 โทร. 089 – 2993351 โทร. 087 - 8379038 1. เป็นศูนย์การเรียนรู้ การทำเกษตรอย่างยั่งยืนโดยเริ่มจากการปลูกพืชผสมผสาน การเลี้ยงปลา การอนุรักษ์พันธุกรรมท้องถิ่น และสนับสนุนส่งเสริมการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านกระบวนการกิจกรรมเพื่อขยายผลในเชิงพื้นที่ รวมทั้ง การฟื้นฟูวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชน 2. ภายในศูนย์มีกิจกรรม หลักสูตรการอบรม ให้ผู้สนใจได้ศึกษา เรียนรู้ ดังนี้ 1) หลักการแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) การทำบัญชีครัวเรือน 3) หลักการทำเกษตรกรรมยั่งยืนและระบบนิเวศน์ 4) การวางแผนการผลิต 5) การวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน 6) การผลิตจุลินทรีย์ท้องถิ่น ) การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ 8) สารสกัดสมุนไพรป้องกันโรคแมลงศัตรูพืช 9) ความสำคัญของพันธุกรรมพืชท้องถิ่น 10) การปลูกไม้ใช้หนี้ 11)การขยายพันธุ์ไม้ 12) การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ภูมิคุ้มกันแผ่นดิน 13) เตาถ่านน้ำส้มควันไม้ 14) การเลี้ยงหมูหลุมชีวภาพ 15) การเพาะถั่วงอกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์